วิจัยปริมาณสารพิษตกค้างฟิโปรนิลในถั่วฝักยาวเพื่อกำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้าง - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8) +--- เรื่อง: วิจัยปริมาณสารพิษตกค้างฟิโปรนิลในถั่วฝักยาวเพื่อกำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้าง (/showthread.php?tid=800) |
วิจัยปริมาณสารพิษตกค้างฟิโปรนิลในถั่วฝักยาวเพื่อกำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้าง - doa - 12-21-2015 วิจัยปริมาณสารพิษตกค้างของฟิโปรนิลในถั่วฝักยาวเพื่อกำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้าง ครั้งที่ 1 และ 2 ศศิมา มั่งนิมิตร์, ลักษมี เดชานุรักษ์นุกูล และวิทยา บัวศรี กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร วิจัยปริมาณสารพิษตกค้างของฟิโปรนิลในถั่วฝักยาวเพื่อกำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้าง ครั้งที่ 1 และ 2 ทำการทดลองที่สถานที่ต่างๆ ดังนี้ ครั้งที่ 1 ที่ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี ระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคม 2553 ครั้งที่ 2 ที่ อ.เมือง จ.ราชบุรี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน 2553 วางแผนการทดลองแบบ supervise reidue trial มี 2 การทดลองย่อย คือ การทดลองย่อยที่ 1 แปลงที่พ่นวัตถุมีพิษ ดำเนินการพ่นวัตถุมีพิษก่อนระยะเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 1 เดือน โดยพ่น fipronil 7 วันต่อครั้ง รวม 4 ครั้ง สุ่มเก็บตัวอย่างที่ระยะเวลาต่างๆ กันคือ 0, 1, 3, 5, 7, 10 และ 14 วัน หลังการพ่นวัตถุมีพิษครั้งสุดท้าย เพื่อตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารพิษตกค้างของ fipronil ในถั่วฝักยาว การทดลองครั้งที่ 1 พบว่า เมื่อใช้วัตถุมีพิษตามอัตราแนะนำพบปริมาณสารพิษตกค้างที่ระยะเวลา 0, 1, 3 และ 5 วัน ดังนี้ 0.257, 0.130, 0.035 และ 0.009 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ การทดลองครั้งที่ 2 พบปริมาณสารพิษตกค้างที่ 0, 1, 3 และ 5 วัน ดังนี้ 0.307, 0.323, 0.085 และ 0.016 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ส่วนที่ระยะเวลาอื่นๆ ตรวจไม่พบสารพิษตกค้าง ส่วนแปลงควบคุม ตรวจไม่พบสารตกค้างในทุกตัวอย่างของการทดลอง ปัจจุบันไม่มีค่า Codex MRL ของ fipronil ในถั่วฝักยาวหรือพืชตระกูลถั่ว แต่มีการกำหนดค่าในพืชบางชนิด เช่น กะหล่ำปลีเท่ากับ 0.02 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม กล้วยเท่ากับ 0.005 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปกำหนดค่า EU-MRL ของ fipronil ในผลไม้เท่ากับ 0.005 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนในประเทศญี่ปุ่นกำหนดค่า MRL ของ fipronil ในกะหล่ำปลีเท่ากับ 0.1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สำหรับประเทศไทยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ไม่ได้กำหนดค่า THAI-MRL ของ fipronil ในพืชใดๆ ข้อมูลฉลากข้างผลิตภัณฑ์ระบุให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลังการฉีดพ่นสารครั้งสุดท้าย 7 วัน ผลจากการทดลองครั้งที่ 1 และ 2 พบว่า สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตามฉลากระบุ การสำรวจและสุ่มเก็บตัวอย่างถั่วฝักยาวจากแหล่งผลิตและแหล่งจำหน่ายในพื้นที่ใกล้เคียงและจังหวัดต่างๆ ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี นครนายก นครปฐม สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี ชลบุรี ปราจีนบุรี และกรุงเทพมหานคร จำนวน 46 ตัวอย่าง ตรวจไม่พบสารพิษ fipronil ในทุกตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างจำนวน 12 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 26.08 ของตัวอย่างทั้งหมด วัตถุมีพิษที่พบจำแนกได้ดังนี้ พบ chlorpyrifos 6 ตัวอย่าง ปริมาณที่พบอยู่ในช่วง 0.01-0.14 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พบ dimethoate 2 ตัวอย่าง ปริมาณที่พบอยู่ในช่วง 0.02-0.04 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พบ diazinon 1 ตัวอย่าง ปริมาณที่พบ 0.02 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พบ dicrotophos 1 ตัวอย่าง ปริมาณที่พบ 0.02 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พบ cypermehrin 7 ตัวอย่าง ปริมาณที่พบอยู่ในช่วง 0.02-0.08 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
|