ศึกษากลไกความต้านทานของพริกต่อโรคลำต้นไหม้ที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora capsici - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8) +--- เรื่อง: ศึกษากลไกความต้านทานของพริกต่อโรคลำต้นไหม้ที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora capsici (/showthread.php?tid=795) |
ศึกษากลไกความต้านทานของพริกต่อโรคลำต้นไหม้ที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora capsici - doa - 12-21-2015 ศึกษากลไกความต้านทานของพริกต่อโรคลำต้นไหม้ที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora capsici ศรีสุข พูนผลกุล และศิริพงษ์ คุ้มภัย กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช เชื้อรา Phytophthora capcisi, สาเหตุโรคลำต้นไหม้ของพริกทำความเสียหายต่อการปลูกพริกทั่วโลก การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพด้วยการจำแนกสายพันธุ์ (pathotypes) เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพิจารณาคัดเลือกพันธุ์ต้านทานที่มีประสิทธิภาพเชื้อรา 6 ไอโซเลท เป็นตัวแทนเชื้อราที่แยกเชื้อบริสุทธิ์ได้จาก 5 จังหวัด ราดเชื้อราอัตรา 50,000 สปอร์/มิลลิลิตร ปริมาตร 5 มิลลิลิตรต่อต้น บนพริกทดสอบ 11 สายพันธุ์ ได้แก่ PI 2301232, CM 331, CNPH 703, PI 2301238, PI 2301234, CM 334, PI 189550, Early calwonder, PBC 602, PBC 137 และพริกพันธุ์จินดา เมื่อมีอายุ 6 สัปดาห์ ตรวจสอบการเป็นโรคลำต้นไหม้หลังการปลูกเชื้อ 21 วัน ผลการทดสอบพบว่า เชื้อรา Phytophthora capcisi สาเหตุโรคลำต้นไหม้ของพริกที่พบในประเทศไทยจัดไว้ได้ 3 pathotypes
การศึกษาการถ่ายทอดลักษณะความต้านทานโรคได้ดำเนินการผสมพันธุ์พริกโดยใช้พันธุ์แม่ 7 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์พิจิตร 1 (พันธุ์อ่อนแอ) พิจิตร 05 พิจิตร 06 พิจิตร 15-1-1-1 พิจิตร 18–1–1–1 พิจิตร 27-1-2-1 และ PBC 743 ผสมกับพันธุ์พ่อ PI 2301234 พบว่ายีนควบคุมลักษณะต้านทานโรคลำต้นไหม้ของพริกสายพันธุ์ PI 2301234 เป็นยีนลักษณะเด่น 3 คู่ ถ่ายทอดแบบบังคับไม่ให้ยีนต่างคู่กันแสดงออกเมื่อมีการถ่ายทอดไปยังคู่ผสมที่มียีนด้อยอย่างน้อย 1 คู่ ปรากฏอยู่
|