คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ศึกษาเทคนิคการป้องกันกำจัดตัวเต็มวัยด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียนอย่างเหมาะสมในสภาพสวน - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: ศึกษาเทคนิคการป้องกันกำจัดตัวเต็มวัยด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียนอย่างเหมาะสมในสภาพสวน (/showthread.php?tid=786)



ศึกษาเทคนิคการป้องกันกำจัดตัวเต็มวัยด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียนอย่างเหมาะสมในสภาพสวน - doa - 12-21-2015

ศึกษาเทคนิคการป้องกันกำจัดตัวเต็มวัยด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียนอย่างเหมาะสมในสภาพสวน
ศรุต สุทธิอารมณ์, เกรียงไกร จำเริญมา, พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์ และสัญญาณี ศรีคชา
กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การศึกษาเทคนิคการป้องกันกำจัดตัวเต็มวัยหนอนด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียนอย่างเหมาะสมในสภาพสวน ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2550 – กันยายน 2553 ในสวนทุเรียนเกษตรกร จังหวัดจันทบุรี ที่มีการทำลายของด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียนอย่างรุนแรง และเลือกต้นทุเรียนที่มีร่องรอยการทำลายและมีความสูงสม่ำเสมอใกล้เคียงกัน พันด้วยตาข่ายตาถี่รอบต้นทุเรียนพบว่า กับดักตาข่ายสามารถดักจับตัวเต็มวัยด้วงหนวดยาวที่บินเข้ามาจับคู่และวางไข่ที่ต้นทุเรียนทั้งหมดจำนวน 50 ตัว โดยจับได้บริเวณช่วงกลางต้นที่ระดับความสูง 1 – 4 เมตร ประมาณ 73.47% ส่วนที่เหลือจะจับได้ที่บริเวณโคนและส่วนยอดของต้นทุเรียน สามารถแนะนำให้เกษตรกรนำไปใช้เพื่อป้องกันกำจัดตัวเต็มวัยหนอนด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียนที่เข้ามาทำลายทุเรียนซ้ำภายหลังจากเกษตรกรได้กำจัดหนอนที่กัดกินอยู่ในลำต้นด้วยสารเคมีแล้วได้ ด้วงหนวดยาวที่ติดกับดักมี 2 ชนิด คือ Batocera rufomaculata และ Batocera numitor โดยชนิดแรกมีปริมาณมากกว่าชนิดที่สองประมาณ 2.5 เท่า และมีสัดส่วนเพศใกล้เคียงกัน