การศึกษาชนิดและทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพรรณไม้น้ำ - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8) +--- เรื่อง: การศึกษาชนิดและทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพรรณไม้น้ำ (/showthread.php?tid=784) |
การศึกษาชนิดและทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพรรณไม้น้ำ - doa - 12-21-2015 การศึกษาชนิดและทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพรรณไม้น้ำ วนาพร วงษ์นิคง, ศรุต สุทธิอารมณ์, ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา, วิภาดา ปลอดครบุรี, บุษบง มนัสมั่นคง และพวงผกา อ่างมณี กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช การศึกษาชนิดและทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพรรณไม้น้ำ ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2552 ถึงเดือนกันยายน 2553 จากการสำรวจแมลงศัตรูที่สำคัญในพรรณไม้น้ำชนิด Anubias sp. พบแมลงศัตรูพึชในไม้น้ำเพียงชนิดเดียว คือ แมลงหวี่ขาวยาสูบ (Bemisia tabaci (Gennadius)) ทำความเสียหายโดยดูดกินน้ำเลี้ยงที่บริเวณใต้ใบ และส่วนใหญ่พบในระยะใบเพสลาด และพบระบาดตลอดฤดูปลูก
การทดสอบประสิทธิภาพป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบ (Bemisia tabaci (Gennadius)) ที่แปลงเกษตรกรอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พบว่า สาร imidacloprid 70% WG (Provado 70 WG) อัตรา 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และ imidacloprid 10% SL (Confidor 100 SL) อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร มีแนวโน้มในการป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบได้ดีที่สุด รองลงมา ได้แก่ สาร dinotefuran 10% WP (Stargle) อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และ thiamethoxam 25% WG (Actara 25 WG) อัตรา 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่น 2 ครั้งติดต่อกัน ห่างกัน 5 วัน และพบว่าสารฆ่าแมลงหลายชนิดมีผลทำให้เกิดอาการใบไหม้ |