การผลิตเส้นด้ายยางด้วยเครื่องต้นแบบ - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8) +--- เรื่อง: การผลิตเส้นด้ายยางด้วยเครื่องต้นแบบ (/showthread.php?tid=770) |
การผลิตเส้นด้ายยางด้วยเครื่องต้นแบบ - doa - 12-09-2015 การผลิตเส้นด้ายยางด้วยเครื่องต้นแบบ วิภาวี พัฒนกุล, วิชัย โอภานุกูล, นุชนาฏ ณ ระนอง และณพรัตน์ วิชิตชลชัย สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร, สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม และสถาบันวิจัยยาง การผลิตเส้นด้ายยางโดยใช้เทคนิคการอัดน้ำยางที่ผสมสารไวต่อความร้อน (heat-sensitive agent) ผ่านหัวแม่แบบแล้วทำให้น้ำยางขึ้นรูปเป็นเจลเส้นด้ายยางเมื่อได้รับความร้อนจากแม่แบบแทนการขึ้นรูปน้ำยางด้วยการใช้กรด แม่แบบเส้นด้ายยางที่พัฒนาขึ้นมามีเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นด้ายยาง 3 ขนาด คือ 1, 2 และ 3 มิลลิเมตร สภาวะเบื้องต้นสำหรับผลิตเส้นด้ายยางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 และ 3 มิลลิเมตร ด้วยเครื่องต้นแบบ ใช้สารไวต่อความร้อนพอลิไวนิลเมทิลอีเทอร์เข้มข้น 10% จำนวน 4 ส่วนต่อยาง 100 ส่วน อุณหภูมิเย็นและร้อนของแม่แบบ 25 และ 50 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ได้เจลเส้นด้ายยางต่อเนื่อง แล้วอบเจลเส้นด้ายยางให้คงรูปที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20 นาที การผสม 50% แคลเซียมคาร์บอเนต เพื่อลดต้นทุนในสูตรผลิตเส้นด้ายยางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตร จำนวน 1, 2, 3, 4 และ 5 ส่วนต่อยาง 100 ส่วน สามารถผลิตเส้นด้ายยางด้วยเครื่องต้นแบบได้ แต่ในบางครั้งเมื่อปริมาณ 50% แคลเซียมคาร์บอเนตเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 2–5 ส่วนต่อยาง 100 ส่วน เกิดการตันของเจลเส้นด้ายยางในสายท่อลำเลียงและแม่แบบ
|