คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การศึกษาศัตรูพืชกักกันที่ติดมากับต้นกล้วยไม้นำเข้าจากต่างประเทศ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: การศึกษาศัตรูพืชกักกันที่ติดมากับต้นกล้วยไม้นำเข้าจากต่างประเทศ (/showthread.php?tid=768)



การศึกษาศัตรูพืชกักกันที่ติดมากับต้นกล้วยไม้นำเข้าจากต่างประเทศ - doa - 12-09-2015

การศึกษาศัตรูพืชกักกันที่ติดมากับต้นกล้วยไม้นำเข้าจากต่างประเทศ
วานิช คำพานิช, ปรียพรรณ พงศาพิชณ์, วันเพ็ญ ศรีชาติ และปริเชษฐ์ ตั้งกาญจนภาสน์
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช และกลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การสืบค้นข้อมูลศัตรูพืชของกล้วยไม้จากรายงานที่มีในประเทศไทยและต่างประเทศพบว่า มีศัตรูพืชของกล้วยไม้รวมทั้งสิ้นจำนวน 116 ชนิด เป็นเชื้อราจำนวน 20 ชนิด แบคทีเรียจำนวน 8 ชนิด ไวรัสจำนวน 21 ชนิด ไส้เดือนฝอยจำนวน 18 ชนิด แมลงจำนวน 40 ชนิด ไรจำนวน 3 ชนิด และหอยทากจำนวน 6 ชนิด พบในประเทศไทยจำนวน 46 ชนิด เป็นศัตรูพืชกักกันตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดศัตรูพืชเป็นสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 6 และ 7) พ.ศ. 2550 จำนวน 12 ชนิด และจากการศึกษาศัตรูพืชที่ติดมากับต้นกล้วยไม้ที่นำเข้าจากเนเธอร์แลนด์ สาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทางด่านตรวจพืชท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ด่านตรวจพืชท่าเรือกรุงเทพฯ และด่านตรวจพืชนครพนม ระหว่างเดือนตุลาคม 2552 - กันยายน 2553 จำนวนทั้งหมด 15 ตัวอย่าง ตรวจพบศัตรูพืชที่ติดมากับกล้วยไม้ที่นำเข้าจากเนเธอร์แลนด์จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ CyMV ORSV และ Coccus hesperidium สาธารณรัฐประชาชนจีนจำนวน 7 ชนิด ได้แก่ Curvularia eragrostidis, Fusarium solani, Burkholderia gladioli pv. gladioli CyMV ORSV, Contarinia maculipennis และ Ovachlamys ffulgens และต้นกล้วยไม้ที่นำเข้าจาสาธารณประชาธิปไตยประชาชนลาวอีก จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ Curvularia eragrostidis, Pseudocercospora dendrobii CyMV ORSV, Aphelenchoides bicaudatus และ Helicotylenchus dihystera

          มาตรการในการควบคุมกำกับดูแลเพื่อลดความเสี่ยงศัตรูพืชอันเนื่องมาจากศัตรูพืชชนิดที่ร้ายแรงซึ่งอาจติดมากับกล้วยไม้ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรและอาจจะมาแพร่ระบาดทำความเสียหายต่อการผลิตกล้วยไม้ในประเทศไทยให้ใช้มาตรการทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติกักกันพืช พ.ศ. 2507 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551