คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ความสัมพันธ์ของไวรัสสาเหตุโรคเส้นใบเหลืองกับพันธุ์กระเจี๊ยบเขียวในแต่ละแหล่งปลูก - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: ความสัมพันธ์ของไวรัสสาเหตุโรคเส้นใบเหลืองกับพันธุ์กระเจี๊ยบเขียวในแต่ละแหล่งปลูก (/showthread.php?tid=765)



ความสัมพันธ์ของไวรัสสาเหตุโรคเส้นใบเหลืองกับพันธุ์กระเจี๊ยบเขียวในแต่ละแหล่งปลูก - doa - 12-09-2015

ความสัมพันธ์ของไวรัสสาเหตุโรคเส้นใบเหลืองกับพันธุ์กระเจี๊ยบเขียวในแต่ละแหล่งปลูก
วันเพ็ญ ศรีทองชัย และอำนวย อรรถลังรอง
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          เก็บตัวอย่างโรคเส้นใบเหลืองของกระเจี๊ยบเขียวจาก จ.พิจิตร 1 ไอโซเลท (OYVV-PC) และ 2 ไอโซเลท (OYVV-KB1 แล OYVV-KB2) จาก จ.กาญจนบุรี และนำมาถ่ายทอดโดยแมลงหวี่ขาวลงบนกระเจี๊ยบพันธุ์พิจิตร 03 ซึ่งอ่อนแอต่อโรคนี้พบว่า OYVV-PC เริ่มแสดงอาการเส้นใบเหลือง และเนื้อใบมีสีเขียวเข้ม และไอโซเลท OYVV-KB1 แสดงอาการเส้นใบเหลืองและเนื้อใบมีสีเขียวอ่อน หลังการถ่ายทอดโรคโดยแมลงหวี่ขาวภายใน 2 - 3 สัปดาห์ แต่ OYVV-KB2 พบอาการของโรคเริ่มปรากฏให้เห็นหลังการถ่ายทอดเชื้อแล้ว 3 - 4 สัปดาห์ โดยเส้นใบมีสีเขียวอ่อนหรือสีขาว เนื้อในมีสีเขียวเข้ม ผลการทดสอบความต้านทานของกระเจี๊ยบเขียวจำนวน 18 พันธุ์/สายพันธุ์ จาก ศวส.พิจิตร ต่อโรคเส้นใบเหลือง โดยใช้พันธุ์พิจิตร 03 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ โดยใช้ไอโซเลท OYVV-KB1 และ OYVV-PC ในปี 2551 พบว่า สายพันธุ์ กาญจนบุรี กรีนสตาร์ 152 (F3) พันธุ์ Star 691 และ No. 25 ค่อนข้างต้านทานต่อโรคเส้นใบเหลืองทั้ง 2 ไอโซเลท สูง 95 - 100% ส่วนสายพันธุ์อื่นๆค่อนข้างอ่อนแอทั้งสองไอโซเลท OYVV-PC ยกเว้น สายพันธุ์ 2-1-3-12-3-8-B ค่อนข้างต้านทานต่อไอโซเลท OYVV-KB1 แต่อ่อนแอต่อไอโซเลท OYVV-PC สำหรับการทดสอบความต้านทานของกระเจี๊ยบเขียวจำนวน 19 พันธุ์/สายพันธุ์ (ปี 2552) และ 27 สายพันธุ์/พันธุ์ (ปี 2553) จาก ศวส.พิจิตร ต่อโรคเส้นใบเหลือง โดยใช้ไอโซเลท OYVV-PC OYVV-KB1 และ OYVV-KB2 พบว่า กระเจี๊ยบเขียวจำนวน 12 สายพันธุ์ มีความต้านทานต่อไวรัสทั้ง 3 ไอโซเลท (อัตราการเกิดโรค 0%) ได้แก่ 01R1-4-1, 01R4-3-3, 02R1-1-4, 02R1-4-1, 02R3-7-3, 03R1-2-2, 03R1-3-1, 10R1-4-1, 5A-B, 10A-1, 10A- และ 10A-7 สำหรับ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ 01R1-2-3, F1 OK041 และ F1 OK042 มีความต้านทานสูงมากต่อไวรัสทั้ง 3 ไอโซเลท (อัตราการเกิดโรค 0 - 4%) แต่ 7 สายพันธุ์ ได้แก่ N042-B® , 4369-1®, 10R4-4-3, 10R4-6-2, 10A-2, 10A-5 และ 10A-6 อ่อนแอต่อไวรัสทั้ง 3 ไอโซเลท (อัตราการเกิดโรค 96 - 100%) ส่วนสายพันธุ์ที่เหลือมีความผันแปรค่อนข้างสูง ซึ่งสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการแนะนำพันธุ์กระเจี๊ยบเขียวต้านทานโรคเส้นใบเหลืองที่เหมาะต่อการปลูกในแต่ละแหล่งของประเทศ