การศึกษาศัตรูพืชกักกันที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์สกุลแตงนำเข้าจากต่างประเทศ - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8) +--- เรื่อง: การศึกษาศัตรูพืชกักกันที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์สกุลแตงนำเข้าจากต่างประเทศ (/showthread.php?tid=762) |
การศึกษาศัตรูพืชกักกันที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์สกุลแตงนำเข้าจากต่างประเทศ - doa - 12-09-2015 การศึกษาศัตรูพืชกักกันที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์สกุลแตงนำเข้าจากต่างประเทศ (เมล็ดพันธุ์เมล่อน) วันเพ็ญ ศรีชาติ, ศรีวิเศษ เกษสังข์, ชลธิชา รักใคร่, วานิช คำพานิช และปริเชษฐ์ ตั้งกาจนภาสน์ กลุ่มวิจัยการกักกันพืช และกลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช เมลอน (Cucumis melo L., Cucumis melo var. cantalupensis) จากสืบค้นข้อมูลศัตรูพืชที่เข้าทำลายเมลอน มีศัตรูพืชทั้งสิ้น 153 ชนิด จัดเป็นแมลง 47 ชนิด ไร 7 ชนิด หอย 1 ชนิด วัชพืช 9 ชนิด ไส้เดือนฝอย 8 ชนิด เชื้อรา 46 ชนิด แบคทีเรีย 13 ชนิด ไวรัส 18 ชนิด และจากการตรวจวินิจฉัยเชื้อโรคและศัตรูพืชขั้นละเอียดกับเมล็ดพันธุ์เมลอนนำเข้าในห้องปฏิบัติการ โดยสุ่มตัวอย่างเมล็ดพันธุ์เมลอนนำเข้าจาก 14 ประเทศ ได้แก่ ประเทศเปรู เนเธอร์แลนด์ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ สเปน สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ฝรั่งเศส อิสราเอล เม็กซิโก ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ชิลี และญี่ปุ่น จำนวน 54 ตัวอย่าง ทำการตรวจสอบศัตรูพืชเบื้องต้นด้วยตาเปล่าและภายใต้กล้องจุลทรรศน์พบว่า เมล็ดพันธุ์เมลอนนำเข้ามีสีขาว เมล็ดสมบูรณ์ สะอาด ไม่พบร่องรอยการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชหรือร่องรอยของเชื้อโรคศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์บรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์สะอาด ปิดมิดชิด และจากการตรวจวินิจฉัยเชื้อโรคพืชกับเมล็ดพันธุ์เมลอนในห้องปฏิบัติการด้วยวิธี Blotter method และ Dilution technique ไม่พบเชื้อราและแบคทีเรียที่น่าสงสัยจะเป็นเชื้อก่อโรคกับเมล็ดพันธุ์ดังกล่าว และจากการนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูกสังเกตอาการของโรคในโรงเรือน (Seedling symptom) ไม่พบอาการผิดปกติกับต้นเมลอน ลักษณะต้นเจริญสมบูรณ์ ซึ่งจากการตรวจจากเอกสารและการสังเกตเมล็ดพันธุ์นำเข้าจากต่างประเทศพบว่า เมล็ดพันธุ์มีการทำการควบคุมเชื้อโรคศัตรูพืช เช่น การจุ่มกรดไฮโรคลอริกเข้มข้น 800 ppm. นาน 10 นาที หรือมีการคลุกสารเคมีฆ่าเชื้อรา ได้แก่ Thiram 85 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์นำหรัก 45 กิโลกรัม
|