คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
พัฒนาวิธีการวิเคราะห์และตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์อินทรียคาร์บอนในปุ๋ยอินทรีย์ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: พัฒนาวิธีการวิเคราะห์และตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์อินทรียคาร์บอนในปุ๋ยอินทรีย์ (/showthread.php?tid=757)



พัฒนาวิธีการวิเคราะห์และตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์อินทรียคาร์บอนในปุ๋ยอินทรีย์ - doa - 12-09-2015

พัฒนาวิธีการวิเคราะห์และตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์อินทรียคาร์บอนในปุ๋ยอินทรีย์
วรรณรัตน์ ชุติบุตร, สงกรานต์ มะลิสอน, อมรา หาญจนวาณิช และจุลศักดิ์ บุญรัตน์
กลุ่มวิจัยเกษตรเคมี สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          พัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์อินทรียคาร์บอนในปุ๋ยอินทรีย์ เป็นการพัฒนาเพื่อให้ได้เทคนิคการวิเคราะห์อินทรียคาร์บอน และอินทรียวัตถุในปุ๋ยอินทรีย์ที่ถูกต้อง เที่ยงตรง และเหมาะสม โดยนำวิธีวิเคราะห์อินทรียคาร์บอนของกรมวิชาการเกษตร มาทดสอบหาอัตราส่วนระหว่างปริมาณของสารละลายโพแทชเซียมไดโครเมต 1 N และปริมาตรของกรดซัลฟุริกเข้มข้นที่ให้ประสิทธิภาพการวิเคราะห์สูงสุดพบว่า ที่อัตราส่วน 1:1.5 ให้ผลการวิเคราะห์อินทรียคาร์บอนสูงที่สุด ตรวจสอบความใช้ได้ของเทคนิคดังกล่าวโดยพิสูจน์ความถูกต้อง ความเที่ยง ช่วงความเป็นเส้นตรง และปริมาณต่ำสุดที่สามารถวัดได้ โดยใช้สารมาตรฐานที่ถูกออกซิไดซ์ได้ยากที่สุดจนถึงง่ายที่สุด พบว่า %Recovery อยู่ระหว่าง 73 - 128 % และ HORRAT ≤ 2 ช่วงความเป็นเส้นตรงคือ 0-72 มิลลิกรัม โดยมีค่า Correlation coefficient เท่ากับ 1 ปริมาณต่ำสุดที่สามารถวัดได้ของวิธีเท่ากับ 0.28% และปริมาณต่ำสุดที่สามารถรายงานผลได้เท่ากับ 0.73% พิสูจน์ความถูกต้องวิธีวิเคราะห์อินทรียวัตถุของกรมวิชาการเกษตรโดยเปรียบเทียบวิธีการวิเคราะห์อินทรียวัตถุในพีทของ AOAC พบว่า มี %Recovery เฉลี่ย 86.06% ศึกษาองค์ประกอบที่ส่งผลกระทบต่อผลการวิเคราะห์อินทรียวัตถุของวิธีทั้ง 2 พบว่า คลอไรด์ เหล็ก ซัลเฟต แมงกานีส ทำให้ผลวิเคราะห์ของทั้ง 2 วิธี คลาดเคลื่อนจากค่าจริงเล็กน้อย ส่วนองค์ประกอบที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อผลการวิเคราะห์โดยวิธีวิเคราะห์อินทรียวัตถุในพีทคือ แอมโมเนียมซัลเฟต และยูเรีย ทำให้ผลแตกต่างจากค่าจริง 66.66 และ 99.67 % ตามลำดับ