คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ผลกระทบสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อมวนเพชฌฆาตในสภาพห้องปฏิบัติการและสภาพกึ่งแปลง - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2554 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=4)
+--- เรื่อง: ผลกระทบสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อมวนเพชฌฆาตในสภาพห้องปฏิบัติการและสภาพกึ่งแปลง (/showthread.php?tid=75)



ผลกระทบสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อมวนเพชฌฆาตในสภาพห้องปฏิบัติการและสภาพกึ่งแปลง - doa - 10-13-2015

ผลกระทบของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อมวนเพชฌฆาตในสภาพห้องปฏิบัติการและสภาพกึ่งแปลงทดสอบ
รัตนา นชะพงษ์ และอุราพร หนูนารถ
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ผลกระทบของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชต่อมวนเพชฌฆาตในสภาพห้องปฏิบัติการและสภาพกึ่งแปลงทดสอบ ในปี 2554 ดำเนินการทดลองกับมวนเพชฌฆาตระยะตัวอ่อนวัย 5 ในสภาพห้องปฏิบัติการที่กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 5 ซ้ำ 27 กรรมวิธี ได้แก่ acetone และน้ำกลั่น เป็นกรรมวิธีควบคุม และสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช 25 ชนิด ที่อัตราต่างๆ ต่อน้ำ 20 ลิตร ผลหลังเคลือบสารฯ ในหลอดแก้วทดลอง 4 ชั่วโมง แล้วปล่อยมวนสัมผัสสารฯ 72 ชั่วโมงพบว่า สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ไม่มีพิษต่อมวนเพชฌฆาตระยะตัวอ่อนวัย 5 และไม่แตกต่างทางสถิติกับน้ำกลั่น และ acetone (ทำให้มวนตาย 0 และ 0%) มี 19 ชนิด ได้แก่ amitraz 20%EC, buprofezin 10%WP, lambdacyhalothrin 2.5%CS, thiamethoxamlambdacyhalothrin 14.1% 10.6%ZC, benfuracarb 20%EC, clothianidin 16%SG, novaluron 10%EC, indoxacarb 15%SC, spinosad 12%SC, emamactin benzoate 1.92%EC, flubendiamide 20%WDG, lufennuron 5%EC, tolfenpyrad 16%EC, Bacillus thuringiensis WDG, Bacillus thuringiensis HP, antracol 70%WP, captan 50%WP, chlorfenapyr 10%SC และ betacyfluthrin 2.5%EC โดยทำให้มวนเพชฌฆาตตาย 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 4 และ 8 % ตามลำดับ ส่วนสารฯ ไม่มีพิษต่อมวนเพชฌฆาตระยะตัวอ่อนวัย 5 แต่แตกต่างทางสถิติกับน้ำกลั่น และ acetone มี 4 ชนิด ได้แก่ fipronil, fenpropathrin, etofenprox และ dinotefuran ทำให้มวนตาย 12, 20, 24 และ 28 % ตามลำดับ ส่วนสารที่มีพิษต่อมวนมี 2 ชนิด คือ cypermethrin และ carbosulfan ทำให้มวนตายมากที่สุด 32 และ 52 % ตามลำดับ และแตกต่างทางสถิติกับน้ำกลั่น acetone