คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ศึกษาหนอนกัดกินเปลือกยางพาราและการกำจัด - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: ศึกษาหนอนกัดกินเปลือกยางพาราและการกำจัด (/showthread.php?tid=748)



ศึกษาหนอนกัดกินเปลือกยางพาราและการกำจัด - doa - 12-09-2015

ศึกษาหนอนกัดกินเปลือกยางพาราและการกำจัด
รัตน์ติยา  พวงแก้ว, เฉลิมพงษ์  ขาวช่วง และพเยาว์  ร่มรื่นสุขารมย์
ศูนย์วิจัยพืชและพัฒนาการเกษตรบุรีรัมย์  สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4  และศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา  สถาบันวิจัยยาง  กรมวิชาการเกษตร

          หนอนกัดกินเปลือกยางพาราเป็นแมลงศัตรูอีกชนิดหนึ่งที่ได้ศึกษาวงจรชีวิต ชีววิทยา และการระบาดของหนอน พบว่า หนอนกัดกินเปลือกยางพาราอยู่ในวงศ์ Yponomeutidae อันดับ Lepidoptera ลักษณะตัวหนอนส่วนหัวมีขนาดใหญ่สีน้ำตาลเข้ม ลำตัวสีส้มแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีแดง และเป็นสีแดงเข้ม ระยะก่อนเข้าดักแด้ลำตัวยาวประมาณ 20 มิลลิเมตร กว้าง 2 มิลลิเมตร ตัวหนอนมีขาจริง 3 คู่ อยู่ปล้องอกที่ 1-3 มีขาเทียม 4 คู่ ที่ท้องปล้อง 6-9 ตัวหนอนอาศัยและทำลายด้วยการกัดกินเปลือกยางและอาศัยอยู่ภายใต้รังที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันตัวดักแด้เป็นแบบออบเทคท์ขนาดยาว 10 มิลลิเมตร กว้าง 1-2 มิลลิเมตร ระยะดักแด้ 8-15 วัน ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ระยะตัวเต็มวัยเพศผู้ 1-2 วัน เพศเมีย 6-14 วัน เพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ ระบาดและทำลายบริเวณเหนือรอย 47.90% บริเวณรอยกรีด 40.97% แพร่ระบาดช่วงเดือนตุลาคม-เมษายน การป้องกันกำจัดเบื้องต้นแนะนำใช้ไส้เดือนฝอย Steinernemar carpocasae อัตรา 4 ล้านตัว/น้ำ 20 ลิตร/ต้น ฉีดพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 15 วัน หรือใช้สารเคมีกลุ่มอีมาเม็กตินเบนโซเอท (emamectin benzoate) อัตรา 10 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร พ่นให้เปียกชุ่มบริเวณที่หนอนทำลาย