การผลิตเมล็ดพันธุ์สังเคราะห์ชุดที่ 2 - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8) +--- เรื่อง: การผลิตเมล็ดพันธุ์สังเคราะห์ชุดที่ 2 (/showthread.php?tid=740) |
การผลิตเมล็ดพันธุ์สังเคราะห์ชุดที่ 2 - doa - 12-09-2015 การผลิตเมล็ดพันธุ์สังเคราะห์ชุดที่ 2 รัชนี รัตนวงศ์, นภาวรรณ เลขะวิพัฒน์ และเพชรรัตน์ พลชา ศูนย์วิจัยยางหนองคาย สถาบันวิจัยยาง และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเลย สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 การสร้างเมล็ดพันธุ์ยางสังเคราะห์ชุดที่ 2 เป็นการนำเอาลูกผสมเมล็ดยางที่มีคุณสมบัติโตเร็ว ให้ปริมาณเนื้อไม้สูง มาศึกษาลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของลักษณะการเจริญเติบโต ดำเนินการสร้างแปลงแม่-พ่อพันธุ์ ปี 2547 ในพื้นที่ของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเลย ปลูกพันธุ์ยางเป็นแม่ – พ่อพันธุ์จำนวน 6 พันธุ์ ได้แก่ PB 260, RRIC 110, PB 311, RRIC 121, RRII 118 และ AVROS 2037 โดยใช้ระยะปลูก 6x6 เมตร และปลูกตามแผนผังที่เปิดโอกาสให้ทุกพันธุ์มีโอกาสผสมพันธุ์กันมากที่สุด เพื่อลดปัญหาการเกิด Inbreeding depression จากการทดลองสร้างเมล็ดพันธุ์สังเคราะห์เพื่อการสร้างพันธุ์ยางเพื่อเนื้อไม้ พันธุ์ AVROS 2037 และ PB 311 มีขนาดรอบลำต้นเมื่ออายุ 5 ปี ครึ่งสูงที่สุด พันธุ์ AVROS 2037 เป็นพันธุ์ที่ออกดอกและดอกร่วงเร็วที่สุด ขณะที่พันธุ์ RRII 118 และ PB 311 ออกดอกใกล้เคียงกันและเร็วเป็นอันดับ 2 รองจากพันธุ์ AVROS 2037 แต่พันธุ์ PB 260, RRIC 110 และ RRIC 121 จัดเป็นพันธุ์ที่ออกดอกช้าที่สุด ดังนั้น โอกาสที่จะได้ลูกผสม AVROS 2037 x PB 260 ควรจะได้น้อยกว่าลูกผสมระหว่าง PB 260 RRIC 110 หรือ RRIC 121 ซึ่งเป็นกลุ่มพันธุ์ที่ออกดอกใกล้เคียงกัน ซึ่งลูกผสมที่ได้จากการผสมพันธุ์แบบสุ่มได้นำไปเพาะเป็นต้นกล้าและปลูกทดสอบลูกผสมในระยะกล้าต่อไป เพื่อศึกษาการค่าความสามารถในการปรับตัวของต้นกล้าที่ได้จากเมล็ดพันธุ์ยางสังเคราะห์
|