คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ผลกระทบของสารป้องกันกำจัดกำจัดไรศัตรูพืชต่อผึ้งพันธุ์ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: ผลกระทบของสารป้องกันกำจัดกำจัดไรศัตรูพืชต่อผึ้งพันธุ์ (/showthread.php?tid=729)



ผลกระทบของสารป้องกันกำจัดกำจัดไรศัตรูพืชต่อผึ้งพันธุ์ - doa - 12-08-2015

ผลกระทบของสารป้องกันกำจัดกำจัดไรศัตรูพืชต่อผึ้งพันธุ์
ยุทธนา แสงโชติ และวาทิน จันทร์สง่า
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การทดลองผลของสารป้องกันกำจัดไรศัตรูผึ้งบางชนิดต่อผึ้งพันธุ์ ได้ดำเนินการทดลองที่หน่วยงานวิจัยผึ้ง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในช่วงปี 2551 - 2553 โดยใช้สารป้องกันกำจัดไรศัตรูผึ้งทั้งหมด 4 ชนิดคือ สาร amitraz (Mitac) 20% EC อัตรา 0.5 มล./น้ำ 1 ลิตร, สาร tau-fluvalinate (Apistan) 10% W/W strip อัตรา 2 แผ่น/รัง, สารสกัดจากสะระแหน่อัตรา 500 มล./น้ำ 1 ลิตร และกรดฟอร์มิก 65% อัตรา 60 มล./รัง เปรียบเทียบกับการไม่ใช้สารใด ๆ โดยตรวจนับปริมาณไข่ ตัวอ่อน และดักแด้ ก่อนและหลังการทดลองพบว่า กรดฟอร์มิก 65% มีปริมาณไข่มากที่สุด เช่นเดียวกับปริมาณตัวอ่อน ส่วนปริมาณดักแด้พบว่า การไม่ใช้สารใด ๆ มีปริมาณดักแด้มากที่สุด แต่ทุกกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติทุกระยะการเจริญเติบโต