คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ศึกษาสายพันธุ์หนูที่เหมาะสมต่อการผลิตขยายเชื้อโปรโตซัวในหนูในสภาพโรงเรือน - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: ศึกษาสายพันธุ์หนูที่เหมาะสมต่อการผลิตขยายเชื้อโปรโตซัวในหนูในสภาพโรงเรือน (/showthread.php?tid=724)



ศึกษาสายพันธุ์หนูที่เหมาะสมต่อการผลิตขยายเชื้อโปรโตซัวในหนูในสภาพโรงเรือน - doa - 12-08-2015

ศึกษาสายพันธุ์หนูที่เหมาะสมต่อการผลิตขยายเชื้อโปรโตซัวในหนูในสภาพโรงเรือน
ยุวลักษณ์ ขอประเสริฐ, ดาราพร รินทะรักษ์ และปราสาททอง พรหมเกิด
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การศึกษาหาสายพันธุ์หนูท้องขาวที่เหมาะสม สำหรับการติดเชื้อค๊อคซิเดียนปรสิตโปรโตซัว Sarcocystis singaporensis เพื่อเป็นอาหารงูเหลือมสำหรับผลิตโปรโตซัวระยะสปอร์โรซีสต์ เพื่อผลิตสารชีวินทรีย์กำจัดหนู ทำการศึกษาในห้องปฏิบัติการของกลุ่มงานสัตววิทยาการเกษตร ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้สายพันธุ์หนูท้องขาวที่สามารถผลิตซีสต์ในกล้ามเนื้อลำตัวให้ได้ปริมาณมาก (%การติดเชื้อพบในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่) โดยทำการให้เชื้อโปรโตซัวระยะสปอร์โรซีสต์ในหนูโดยตรงทางปากในอัตรา 500 ซีสต์ ภายหลังให้เชื้อโปรโตซัวแล้ว 7 วัน ให้เชื้อโปรโตซัวระยะสปอร์โรซีสต์ซ้ำอีกครั้งในอัตรา 300 ซีสต์ ภาายหลังให้เชื้อโปรโตซัวแล้ว ทำการเลี้ยงและดูแลหนูติดเชื้อเป็นเวลา 2 เดือน จึงทำการผ่าหนูเพื่อตรวจนับเชื้อโปรโตซัวระยะซาร์โคซีสต์ภายใต้กล้องกำลังขยายสูง

          ผลการตรวจนับซีสต์ใกล้ามเนื้อลำตัวของหนูแต่ละสายพันธุ์พบว่า หนูขาวสายพันธุ์ Sprague Daw Ley มีความเหมาะสมที่สุดที่โปรโตซัวสามารถเจริญเติบโตและผลิตซีสต์ในกล้ามเนื้อลำตัวในหนูทุกตัว และในระดับสูงพบมากถึง 70% อันดับรองลงม ได้แก่ หนูนาใหญ่ มีการติดเชื้อในระดับสูงถึง 25% ระดับกลาง 25% และระดับต่ำ 40% ส่วนหนูท้องขาวชนิดอื่น ๆ มีการติดเชื้อโปรโตซัวส่วนใหญ่ในระดับต่ำ 66.7 - 80.0%

          สรุปผลการศึกษาพบว่า หนูขาวสายพันธุ์ Sprague Daw Ley เป็นสายพันธุ์ที่เหมาะสมที่สุดในการนำมาผลิตโปรโตซัวระยะซาร์โคซีสต์ให้ได้ปริมาณสูง อันดับรองลงมาได้แก่ หนูนาใหญ่รุ่น F1