คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตแบบพร้อมใช้ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตแบบพร้อมใช้ (/showthread.php?tid=708)



ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตแบบพร้อมใช้ - doa - 12-08-2015

ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตแบบพร้อมใช้
ภาวนา ลิกขนานนท์ และสุปรานี มั่นหมาย
กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตประเภทเชื้อรา Penicillium pinophilum ให้อยู่ในรูปแบบปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตแบบพร้อมใช้โดย 1. ศึกษาวิธีการเลี้ยงขยายปริมาณสปอร์ของ Penicillium pinophilum ในห้องปฏิบัติการพบว่า วิธี solid substrate cultivation บนซับสเตรทที่เหมาะสมคือ ข้างฟ่างและรำข้าวหยาบในอัตราส่วน 2:1 (โดยน้ำหนัก) ที่บรรจุในถุงพลาสติก (150 กรัมต่อถุง) แล้วบ่มเชื้อที่อุณหภูมิห้อง เป็นระยะเวลา 14 วัน ทำให้ได้สปอร์สีส้มของ Penicillium pinophilum มีปริมาณเท่ากับ 1 X 10(8) สปอร์ต่อกรัมของวัสดุ และมี shelf life ที่นานเพียงพอ 2. หาวัสดุพาที่เหมาะสมสำหรับเชื้อราละลายฟอสเฟต Penicillium pinophilum โดยศึกษาการมีชีวิตอยู่รอดของเชื้อในวัสดุพาที่ทดลองพบว่า การใช้ปุ๋ยหมักมูลโคบดละเอียด 50 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับซีโอไลท์ 50 เปอร์เซ็นต์ การใช้ปุ๋ยหมักมูลโคบดละเอียด 30 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับซีโอไลท์ 70 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เชื้อรามีชีวิตอยู่รอดได้นานเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 360 วัน โดยยังมีปริมาณถึง 10(6)-10(8) เซลล์ต่อกรัมของวัสดุพา และยังคงแสดงประสิทธิภาพในการละลายฟอสเฟตทุกระยะเวลา 0 7 15 30 60 90 120 180 และ 360 วัน 3. ทดสอบประสิทธิภาพและศึกษาหาวิธีการใช้ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตที่ผลิตกับพืชผักในสภาพเรือนทดลอง ผลการทดลองมีแนวโน้มว่าการใส่ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตให้น้ำหนักต้นมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต