คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ข้าวโพดเหนียวลูกผสมพันธุ์ CNW 80 - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: ข้าวโพดเหนียวลูกผสมพันธุ์ CNW 80 (/showthread.php?tid=702)



ข้าวโพดเหนียวลูกผสมพันธุ์ CNW 80 - doa - 12-08-2015

ข้าวโพดเหนียวลูกผสมพันธุ์ CNW 80
กิตติภพ วายุภาพ, เชาวนาถ พฤธิเทพ, จิราลักษณ์ ภูมิไธสง, นงลักษ์ ปั้นลาย, ฉลอง เกิดศรี, พิมพร โชติญาณวงษ์, แฉล้ม มาศวรรณา, ศักดิ์ เพ่งผล, เทวา เมาลานนท์, วิไลวรรณ พรมคำ และวันทนา ตั้งเปรมศรี
ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา, ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่, ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น, สถาบันวิจัยพืชไร่, สำนักวิจัยและพัฒนากาารเกษตรเขตที่ 5 และสำนักผู้เชี่ยวชาญ กรมวิชาการเกษตร

          ข้าวโพดข้าวเหนียวจัดเป็นข้าวโพดรับประทานฝักสดพื้นบ้านของประเทศไทย เกษตรกรนิยมปลูกกันทั่วทุกภาคของประเทศ พื้นที่ปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวมีประมาณ 30,000-40,000 ไร่ โดยเกษตรกรจะปลูกในพื้นที่เดิม 2-3 ครั้งต่อปี พันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวที่เกษตรกรนิยมปลูกในอดีตเป็นพันธุ์ผสมเปิด และเกษตรกรมักเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกเองหรือซื้อจากพ่อค้าในท้องถิ่นใกล้เคียง เช่น พันธุ์สำลี พันธุ์แปดแถว เป็นต้น ปัจจุบันเกษตรกรได้เปลี่ยนมาปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ลูกผสมซึ่งเป็นพันธุ์การค้าของบริษัทเอกชน พันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกข้าวโพดข้าวเหนียว คือ พันธุ์บิ๊กไวท์ 852

          ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์ CNW 80 เป็นพันธุ์ข้าวโพดพันธุ์แรกที่ขอรับรองเป็นพันธุ์รับรองของกรมวิชาการเกษตร โดยพันธุ์ CNW 80 ให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือกเฉลี่ย 1,731 กิโลกรัมต่อไร ไม่แตกต่างจากพันธุ์บิ๊กไวท์ 852 ที่ให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือก 1,714 กิโลกรัมต่อไร่ และพันธุ์ CNW 80 เป็นพันธุ์ที่ปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อม สามารถปลูกได้ทั่วทั้งประเทศที่มีน้ำชลประทานให้ตลอดฤดูปลูก ข้อควรระวังในการปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ CNW 80 คือ เป็นพันธุ์ที่ไม่ต้านทานต่อโรคราน้ำค้างเช่นเดียวกันกับพันธุ์การค้าบิ๊กไวท์ 852 จึงควรหลีกเลี่ยงหรือระมัดระวังการปลูกในพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดของโรคราน้ำค้าง