คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
สำรวจและศึกษาชนิดหนูศัตรูพืชในระบบนิเวศปาล์มปลูกใหม่ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: สำรวจและศึกษาชนิดหนูศัตรูพืชในระบบนิเวศปาล์มปลูกใหม่ (/showthread.php?tid=698)



สำรวจและศึกษาชนิดหนูศัตรูพืชในระบบนิเวศปาล์มปลูกใหม่ - doa - 12-08-2015

สำรวจและศึกษาชนิดหนูศัตรูพืชในระบบนิเวศปาล์มปลูกใหม่
กรแก้ว เสือสะอาด, พวงทอง บุญทรง, เกรียงศักดิ์ หามะฤทธิ์ และทรงทัพ แก้วตา
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การศึกษาชนิดหนูศัตรูปาล์มน้ำมันในระบบนิเวศต่าง ๆ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 ถึงกันยายน พ.ศ. 2553 เพื่อศึกษาชนิดและการแพร่กระจายของหนูที่ทำความเสียหายแก่ปาล์มน้ำมันอายุ 1 - 3 ปี ครอบคลุมพื้นที่ 18 จังหวัด ในเขตภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยทำการดักและรวบรวมตัวอย่างหนูและสัตว์ศัตรูพืชจากพื้นที่ปลูกปาล์มใหม่ ตัวอย่างที่รวบรวมได้ จำแนกชนิด ชื่อวิทยาศาสตร์ ที่ห้องปฏิบัติการกลุ่มงานสัตววิทยาการเกษตร กลุ่มกีฏและสัตววิทยา จากการตรวจจำแนกพบสัตว์ฟันแทะอยู่ใน Order Rodentia มี 15 ชนิด หรือ 3 วงศ์ (Family) ได้แก่ Family Muridae มี 3 สกุล คือ สกุลหนูพุกมี 2 ชนิด ได้แก่ หนูพุกใหญ่และหนูพุกเล็ก สกุลหนูท้องขาวมี 8 ชนิด ได้แก่ หนูท้องขาวบ้าน หนูนาใหญ่ หนูป่ามาเลย์ หนูจิ๊ด หนูหวาย หนูฟันขาวใหญ่ หนูฟันขาวเล็ก หนูฟานเหลือง สกุลหนูหริ่งมี 3 ชนิด ได้แก่ หนูหริ่งนาหางยาว หนูหริ่งนาหางสั้น หนูหริ่งป่าใหญ่ขนเสี้ยน นอกนั้นพบอ้นเล็กอยู่ใน Family Rhizomyidae และกระจ้อนหรือกระแตอยู่ใน Family Sciuridae ซึ่งสกุลหนูพุก หนูท้องขาวบ้าน และหนูหริ่ง มีเขตการแพร่กระจายพบทั้ง 4 ภาคของประเทศไทย