การจัดการสวนยางเพื่อลดอาการเปลือกแห้ง - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8) +--- เรื่อง: การจัดการสวนยางเพื่อลดอาการเปลือกแห้ง (/showthread.php?tid=688) |
การจัดการสวนยางเพื่อลดอาการเปลือกแห้ง - doa - 12-04-2015 การจัดการสวนยางเพื่อลดอาการเปลือกแห้ง พเยาว์ ร่มรื่นสุขารมย์, นิพนธ์ ทัพมงคล, บุตรี พุทธรักษ์, จุลศักดิ์ บุญรัตน์ และทวีศักดิ์ อนุศิริ ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี สถาบันวิจัยยาง และกลุ่มวิจัยเกษตรเคมี สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร การศึกษาแนวทางในการจัดการสวนยางเพื่อลดความเสียหายจากอาการเปลือกแห้งโดยทดลองเปรียบเทียบผลการใช้สารเสริม หรือสารชีวภาพ 4 ชนิด ได้แก่ น้ำหมักที่ผลิตโดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 สารอาหารพืชอะมิโน+โพลีแซคคาไรด์ แมกนีเซียมคีเลท และไคโตซาน พ่นหรือทาที่หน้ากรีดของต้นยางที่แสดงอาการเปลือกแห้งทุก 7 วัน เทียบกับวิธีการใช้น้ำ เป็นเวลานาน 4 เดือน ผลปรากฏว่า ทุกวิธีการให้ผลผลิตกรัมต่อต้นต่อครั้งกรีดไม่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่าวิธีการดังกล่าวไม่สามารถรักษาอาการเปลือกแห้งของยางพาราได้ ส่วนการทดลองใช้สารทาหน้ากรีดที่มีส่วนผสมของสารเคมีเร่งน้ำยางกับต้นยางที่แสดงอาการเปลือกแห้งสามารถทำให้ต้นยางที่แสดงอาการเปลือกแห้งให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นได้ในระยะ 2-3 เดือนแรก หลังจากนั้นผลผลิตจะเริ่มลดลงและกลับมาแสดงอาการเปลือกแห้งอีก การขูดเปลือกที่แตกล่อนและหยุดกรีดต้นยางที่แสดงอาการเปลือกแห้งรุนแรงเป็นเวลา 1 ปี แล้วเปิดกรีดใหม่พบว่า มีต้นยางร้อยละ 43 สามารถให้ผลผลิตน้ำยางต่อไปได้
|