คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอาการเปลือกแห้ง - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอาการเปลือกแห้ง (/showthread.php?tid=686)



วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอาการเปลือกแห้ง - doa - 12-04-2015

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอาการเปลือกแห้ง
พเยาว์  ร่มรื่นสุขารมย์, นิพนธ์  ทัพมงคล, บุตรี  พุทธรักษ์, จุลศักดิ์ บุญรัตน์ และทวีศักดิ์  อนุศิริ
ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี  สถาบันวิจัยยาง และกลุ่มวิจัยเกษตรเคมี  สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร 

          การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการเปลือกแห้งในสวนยางเกษตรกรพบว่า โดยปกติต้นยางจะแสดงอาการเปลือกแห้งเพิ่มขึ้นตามอายุ และมีความแตกต่างกันตามพันธุ์ยาง ระบบกรีดและการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางบริเวณพื้นที่ปลูกที่มีการอัดตัวของดินแน่นมักพบต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งเป็นกลุ่ม การวิเคราะห์ตัวอย่างดินที่เก็บจากบริเวณรอบ ๆ ต้นยางที่แสดงอาการเปลือกแห้งพบว่า มีปริมาณธาตุอาหารบางชนิดต่ำ เช่น ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก และสังกะสี เมื่อเปรียบเทียบกับดินรอบต้นปกติที่อยู่ในแปลงเดียวกัน ขณะที่พบการสะสมธาตุอาหารบางชนิดในใบสูง เช่น โพแทสเซียม เหล็ก แมงกานีส ซึ่งแสดงให้เห็นความไม่สมดุลของธาตุอาหาร นอกจากนี้ยังพบว่า เกษตรกรใช้สารทาหน้ากรีดที่ไม่ระบุสาระสำคัญซึ่งจากการสุ่มตัวอย่างตรวจวิเคราะห์มีสาร ethephon ที่มีสมบัติเป็นสารเคมีเร่งน้ำยางปนเปื้อนอยู่ถึงร้อยละ 81.8 ของจำนวนตัวอย่างที่สุ่มตรวจ โดยมีส่วนประกอบอยู่ระหว่าง 0.43-4.36% W/V จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเปลือกแห้งในสวนยางอย่างรุนแรง