การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังในภาคตะวันออก - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8) +--- เรื่อง: การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังในภาคตะวันออก (/showthread.php?tid=663) |
การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังในภาคตะวันออก - doa - 12-04-2015 การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังในภาคตะวันออก พินิจ กัลยาศิลปิน, นพดล แดงพวง, จงรักษ์ จารุเนตร, ประเวศน์ ศิริเดช, ชูชาติ วัฒนวรรณ, สุเมธ พากเพียร และวุฒิ พิพนธ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปราจีนบุรี และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังในภาคตะวันออก ปี 2551 - 2553 มีการดำเนินงานในพื้นที่เป้าหมาย 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ปราจีนบุรี และสระแก้ว โดยดำเนินงานแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ ปัญหาที่สำคัญที่พบ คือ การเข้าถึงแหล่งความรู้ในการผลิตมันสำปะหลัง การขาดแคลนแหล่งพันธุ์ ปัจจัยการผลิตมีราคาสูง การระบาดของโรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ มีการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง เพื่อหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาในพื้นที่ และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังของกรมวิชาการเกษตรให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ และมีการกระจายพันธุ์ดีสู่เกษตรกร ผลการดำเนินงาน การทดสอบพันธุ์มันสำปะหลังในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดจันทบุรีและสระแก้วพบว่า มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 ให้ผลผลิตหัวสดและเปอร์เซ็นต์แป้งสูงสุด ทำให้มีรายได้สุทธิ 4,180 บาท/ไร่ เมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนรายได้ต่อการลงทุน (BCR) พบว่า แปลงทดสอบพันธุ์มีค่า BCR เท่ากับ 2.90 และแปลงเกษตรกรมีค่า BCR เท่ากับ 1.90 พื้นที่เป้าหมายจังหวัดสระแก้ว มีพันธุ์เกษตรกร 50 เมื่อเก็บเกี่ยวที่อายุ 10 เดือน ให้ผลผลิตหัวสดสูงสุด และพันธุ์ระยอง 11 ให้เปอร์เซ็นต์แป้งสูงสุด การทดสอบการใส่ปุ๋ยตามวิธีการของกรมวิชาการเกษตร (มูลไก่รองพื้นอัตรา 1 ตันต่อไร่ และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-7-18 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่) กับวิธีเกษตรกร วิธีการของกรมวิชาการเกษตรให้ผลตอบแทนสูงสุด เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง เกษตรกรให้การยอมรับและนำไปปฏิบัติตาม การถ่ายทอดเทคโนโลยีทำให้เกษตรกรที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นและสามารถนำไปปรับใช้กับแปลงมันสำปะหลังของเกษตรกร สำหรับเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายที่ผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสามารถทำแปลงขยายพันธุ์มันสำปะหลังไว้ใช้เองได้ และมีการกระจายพันธุ์ให้แก่เกษตรกรรายอื่นๆ ได้
|