คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การแปรรูปน้ำยางผสมของยางธรรมชาติกับยางสังเคราะห์ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: การแปรรูปน้ำยางผสมของยางธรรมชาติกับยางสังเคราะห์ (/showthread.php?tid=651)



การแปรรูปน้ำยางผสมของยางธรรมชาติกับยางสังเคราะห์ - doa - 12-04-2015

การแปรรูปน้ำยางผสมของยางธรรมชาติกับยางสังเคราะห์
พรรษา อดุลยธรรม, กฤษณา  คงศิลป์, จุรี จันทนา, กุลทิวา  รัตนเวคินรักษ์ และสุมนา  แจ่มเหมือน
ศูนย์วิจัยยางสงขลา และกลุ่มอุตสาหกรรมยาง  สถาบันวิจัยยาง 

          ผลิตภัณฑ์ยางทั่วไปผลิตโดยใช้ยางตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป เช่น ผสมยางธรรมชาติกับยางสังเคราะห์ชนิดที่เหมาะสมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนสมบัติยางได้ตามความต้องการและปรับปรุงกระบวนการผลิตและเป็นการลดต้นทุนการผลิต การผสมยางให้เข้ากันได้ดีเพียงใดเป็นปัญหาของการใช้ยางผสมทำให้ยางแต่ละชนิดกระจายเป็นส่วนๆ และการกระจายของสารเคมีและตัวเติมในยางก่อให้เกิดปัญหาการเกิดการคงรูป ปัญหาการคงรูปเกิดได้จากการเคลื่อนย้ายของสารเคมีที่อยู่ในแต่ละส่วนของยางที่ต่างชนิดกัน ทำให้การควบคุมสมดุลของการคงรูปทำได้ยาก การผสมยางในภาวะน้ำยางซึ่งมีธรรมชาติที่สามารถเข้ากันได้ง่าย การเกิดการแบ่งเป็นส่วนๆ มีน้อยลง จะทำให้การใช้ยางผสมสามารถทำได้ง่ายขึ้น และไม่สูญเสียสมบัติกายภาพที่ควรได้ไป การศึกษาการแปรรูปยางผสมจากน้ำยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ เป็นการนำน้ำยางธรรมชาติผสมกับน้ำยางสังเคราะห์ เติมสารเคมีให้น้ำยางผสมจับตัว นำเข้าเครื่องเครพรีดน้ำออกและสับเป็นชิ้นเล็กๆ อบให้แห้ง ได้เป็นยางก้อนเล็กๆ พร้อมอัดเป็นแท่งซึ่งจะเป็นยางผสมที่พร้อมใช้ในโรงงานผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ความสะดวกในการใช้งาน ได้ผลิตภัณฑ์คุณภาพดี ลดค่าใช้จ่าย ทำการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการและในระดับโรงงานนำร่อง โดยใช้น้ำยางสังเคราะห์ 3 ชนิด ประกอบด้วย น้ำยางเอสบีอาร์ น้ำยางคาร์บอกซิลิก เอสบีอาร์ และน้ำยางคาร์บอกซิลิก เอ็นบีอาร์ เจือจางให้มีความเข้มข้นเดียวกับน้ำยางธรรมชาติและปรับสภาพน้ำยางก่อนนำมาผสมด้วยสารละลายแอมโมเนีย และใช้สารจับตัวเป็นสารละลายแคลเซียมไนเตรท และสารละลายกรดฟอร์มิก ผลการศึกษาได้วิธีการผลิตยางผสม โดยการใช้น้ำยางสดกับน้ำยางสังเคราะห์ โดยปรับระดับปริมาณแอมโมเนียเป็น 0.05% และเจือจางน้ำยางให้มีปริมาณของแข็งเป็น 23.5% ก่อนการนำมาผสมกัน แล้วทำให้จับตัวด้วยสารละลายกรดฟอร์มิก นำก้อนยางที่ได้จากการจับตัวผ่านเครื่องรีดเครพ และสับเป็นก้อนขนาดเล็กด้วยเครื่องสับย่อย อบให้แห้งที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส