คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ความหลากชนิดของหิ่งห้อยในเขตภาคใต้ของประเทศไทย - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2554 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=4)
+--- เรื่อง: ความหลากชนิดของหิ่งห้อยในเขตภาคใต้ของประเทศไทย (/showthread.php?tid=65)



ความหลากชนิดของหิ่งห้อยในเขตภาคใต้ของประเทศไทย - doa - 10-13-2015

ความหลากชนิดของหิ่งห้อยในเขตภาคใต้ของประเทศไทย
ยุวรินทร์ บุญทบ, ศิริณี พูนไชยศรี, ลักขณา บำรุงศรี, สุนัดดา เชาวลิต, ชมัยพร บัวมาศ, อิทธิพล บรรณาการ, ชฎาภรณ์ เฉลิมวิเชียรพร และสิทธิศิโรดม แก้วสวัสดิ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          โดยการสำรวจหิ่งห้อย จากบริเวณป่าที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ในประเทศไทย ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2554 นำกลับไปตรวจวิเคราะห์ชนิดตามหลักอนุกรมวิธาน รวมทั้งศึกษาจากตัวอย่างแมลงที่มีในพิพิธภัณฑ์ ที่กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร นำข้อมูลและตัวอย่างแมลงที่พบเปรียบเทียบกับข้อมูลและตัวอย่างที่มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์แมลง กรมวิชาการเกษตร การศึกษาครั้งนี้พบพบตัวอย่างหิ่งห้อยบก และหิ่งห้อยน้ำกร่อย โดยเป็นหิ่งห้อยใน 5 สกุล (Genus) ได้แก่ Lamprigera (Motschulsky) 1853, Stenocladius Deyrolle and Fairmaire, 1878, Luciola Lapote, 1833, Asymmetricata Ballantyne, 2009 และ Pyrocoelia Gorham, 1880 และจากการตรวจวินิจฉัยระดับชนิด (Species) พบหิ่งห้อยทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ Lamprigera sp., Stenocladius sp., Luciola aquatilis Thancharoen,2007, Asymmetricata circumdata (Motschulsky), 2009, Pyrocoelia praetexta Olivier,1911, P. analis (Fabricius,1801) และ Pyrocoelia sp.