วิจัยและพัฒนาเครื่องวัดความแก่ทุเรียนด้วยน้ำหนักแห้ง - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8) +--- เรื่อง: วิจัยและพัฒนาเครื่องวัดความแก่ทุเรียนด้วยน้ำหนักแห้ง (/showthread.php?tid=640) |
วิจัยและพัฒนาเครื่องวัดความแก่ทุเรียนด้วยน้ำหนักแห้ง - doa - 12-04-2015 วิจัยและพัฒนาเครื่องวัดความแก่ทุเรียนด้วยน้ำหนักแห้ง ชูศักดิ์ ชวประดิษฐ์, อนุชิต ฉ่ำสิงห์, ปรีดาวรรณ ไชยสรีชลธาร และปรีชา อานันท์รัตนกุล สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม ทุเรียนผลแก่ได้ที่พันธุ์หมอนทองมีเนื้อสีขาวปนเหลืองอ่อน ผิวเมล็ดสีครีมปนน้ำตาล และมีน้ำหนักเนื้อแห้งขั้นต่ำร้อยละ 32 เป็นดัชนีมาตรฐานกำหนดโดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เพื่อชี้วัดความสุกแก่ของทุเรียนเพื่อใช้ประโยชน์ทางการค้าโดยเฉพาะการส่งออก การพัฒนาคุณภาพสินค้าและการประกันความพอใจของผู้บริโภค วิธีการหาน้ำหนักแห้งแบบมาตรฐาน ได้แก่ การอบแห้งโดยตู้อบลมร้อน ใช้เวลาในการทดสอบไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง และเป็นการทดสอบแบบทำลาย การศึกษาทดสอบความสัมพันธ์คุณสมบัติทางไฟฟ้ากับน้ำหนักแห้งของทุเรียน ออกแบบ สร้าง ทดสอบและพัฒนาเครื่องวัดความสุกแก่ทุเรียนด้วยน้ำหนักแห้งโดยใช้คุณสมบัติประจุไฟฟ้าของผลทุเรียน เป็นเครื่องวัดแบบไม่ทำลาย และได้ดำเนินการทดสอบ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และเปรียบเทียบค่าความแตกต่างของผลการตรวจวัดน้ำหนักแห้งของทุเรียน โดยต้นแบบเครื่องวัดความสุกแก่ของทุเรียนกับวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการโดยใช้ตู้อบลมร้อน ตลอดจนหาค่าความแม่นยำ ความสามารถในการวัดซ้ำ และช่วงการวัดที่เหมาะสมของต้นแบบ และวิธีการมาตรฐานที่ใช้ในการหาความชื้นพบว่า มีความสามารถในการวัดซ้ำสูงสามารถวัดน้ำหนักแห้งของทุเรียนในช่วง 25 - 40% ซึ่งครอบคลุมความสุกแก่ทุเรียนอ่อนถึงแก่จัด ที่ค่าความผิดพลาดไม่เกิน ±1% ใช้ในการวัดลูกละไม่เกิน 30 วินาที เทคโนโลยีเครื่องวัดความสุกแก่ทุเรียนพร้อมถ่ายทอด
|