คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การควบคุมโรคเหี่ยวแบคทีเรียของพริกโดยชีววิธี - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: การควบคุมโรคเหี่ยวแบคทีเรียของพริกโดยชีววิธี (/showthread.php?tid=638)



การควบคุมโรคเหี่ยวแบคทีเรียของพริกโดยชีววิธี - doa - 12-04-2015

การควบคุมโรคเหี่ยวแบคทีเรียของพริกโดยชีววิธี
บูรณี พั่ววงษ์แพทย์, ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, วงศ์ บุญสืบสกุล และธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4

          จากการนำแบคทีเรีย Bacillus subtilis ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่กลุ่มงานบักเตรีวิทยาจำนวน 50 สายพันธุ์ มาทดสอบความสามารถในการเป็นปฏิปักษ์ต่อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum สาเหตุโรคเหี่ยวของพริก ในห้องปฏิบัติการด้วยวิธี direct bioassay โดยทำ diffusion double layer technique พบแบคทีเรีย B. subtilis ที่มีคุณสมบัติเป็นปฏิปักษ์ที่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย R. solanacearum สาเหตุโรคเหี่ยวของพริกได้ 13 ไอโซเลท คือ แบคทีเรียปฏิปักษ์ดินเลน, 11.SA, ดินชุมแพ, อ้อย 4, ดินคลองหลวง 9.2, ดินรากยาสูบ No.2, 4120, ปุ๋ยคอก, ดินรากกล้วย, ดินปุ๋ยคอก, ดินรากยาสูบ No.4, อ้อย 6 และ 4415 จากนั้นนำแบคทีเรียปฏิปักษ์ทั้ง 13 สายพันธุ์ ไปทดสอบความสามารถในการควบคุมโรคเหี่ยวของพริกในโรงเรือนปลูกพืชทดลองที่กลุ่มงานบักเตรีวิทยาพบว่า แบคทีเรียปฏิปักษ์ดินรากยาสูบ No.4 สามารถควบคุมโรคเหี่ยวของพริกได้ 66.67 เปอร์เซ็นต์ แบคทีเรียปฏิปักษ์ดินคลองหลวง 9.2 และดินเลน สามารถควบคุมโรคเหี่ยวของพริกได้ 60 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแบคทีเรียปฏิปักษ์สายพันธุ์อื่นไม่สามารถควบคุมโรคเหี่ยวของพริกในโรงเรือนปลูกพืชทดลองได้ มีระดับการเป็นโรค 66.67 – 99.33 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่กรรมวิธีเปรียบเทียบมีระดับการเป็นโรค 100 เปอร์เซ็นต์