คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การคัดเลือกและทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อ B. subtilis ในการควบคุมเชื้อ R.solanecearum - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: การคัดเลือกและทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อ B. subtilis ในการควบคุมเชื้อ R.solanecearum (/showthread.php?tid=637)



การคัดเลือกและทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อ B. subtilis ในการควบคุมเชื้อ R.solanecearum - doa - 12-03-2015

การคัดเลือกและทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อ Bacillus subtilis ในการควบคุมเชื้อ Ralstonia solanecearum สาเหตุโรคเหี่ยวในพริก
บูรณี พั่ววงษ์แพทย์, ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, นาตยา จันทร์ส่อง และวงศ์ บุญสืบสกุล
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4

          การแยกแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis จากดิน และรากพริกที่เก็บมาจากแปลงพริกของเกษตรกรที่จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 35 ตัวอย่าง ได้แบคทีเรีย B. subtilis จำนวน 55 สายพันธุ์ โดยแยกจากรากพริกจำนวน 18 สายพันธุ์ แยกจากดินบริเวณรากพริกจำนวน 37 สายพันธุ์ นำไปทดสอบความสามารถของแบคทีเรียปฏิปักษ์ B. subtilis ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum สาเหตุโรคเหี่ยวของพริกในห้องปฏิบัติการ ได้แบคทีเรียปฏิปักษ์ที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย R. solanacearum จำนวน 7 สายพันธุ์ คือ แบคทีเรียปฏิปักษ์ UB No.1, UB No.2, UB No.4, UB No.5, UB No.8, UB No.10 และ UB No.25 จากนั้นนำแบคทีเรียปฏิปักษ์ทั้ง 7 สายพันธุ์ ไปทดสอบความสามารถในการควบคุมโรคเหี่ยวของพริกในโรงเรือนทดลองพบว่า แบคทีเรียปฏิปักษ์ UB No.2 และ UB No.25 สามารถควบคุมโรคเหี่ยวของพริกได้ 60 และ 66.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ