คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของแบคทีเรีย A. avanae avenae subsp. citrulli สาเหตุโรคผลเน่า - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของแบคทีเรีย A. avanae avenae subsp. citrulli สาเหตุโรคผลเน่า (/showthread.php?tid=635)



ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของแบคทีเรีย A. avanae avenae subsp. citrulli สาเหตุโรคผลเน่า - doa - 12-03-2015

ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของแบคทีเรีย Acidovorax avanae avenae subsp. citrulli สาเหตุโรคผลเน่าของพืชตระกูลแตง : การมีชีวิตรอด การอาศัยอยู่ และการศึกษาจำนวนประชากรแบคทีเรีย A. avenae subsp. citrulli บนเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลแตงในดินและน้ำจากแหล่งปลูก
บุษราคัม อุดมศักดิ์, ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล และปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ

          ได้ทำการทดสอบการมีชีวิตรอด การอาศัยอยู่ และศึกษาจำนวนประชากรแบคทีเรีย A. avenae subsp. citrulli (Aac) บนเมล็ดพันธุ์แตงโมและเมล่อน โดยการปลูกเชื้อ Aac ลงในผลแตงโมและเมล่อนจนได้เมล็ดที่ติดเชื้อ Aac 98 และ 84% ของเมล็ดทั้งหมด ตามลำดับ จากนั้นเก็บเมล็ดติดเชื้อในตู้เย็น ส่วนหนึ่งนำมาตรวจการมีชีวิตรอดบนอาหาร Tween agar ทุก ๆ เดือน และอีกส่วนหนึ่งนำไปปลูกทดสอบการถ่ายทอดโรคบนพืชทุก ๆ 2 เดือน ผลการทดลองพบว่า หลังการเก็บเมล็ดแตงโมและเมล่อนที่ติดเชื้อ Aac เป็นเวลา 22 เดือน พบเปอร์เซ็นต์เฉลี่ยเมล็ดที่ตรวจพบ Aac ที่มีชีวิตรอดเท่ากับ 78.69 และ 70.60 ของจำนวนเมล็ดทั้งหมด ตามลำดับ การทดสอบการถ่ายทอดโรคบนพืชปลูกของเมล็ดติดเชื้อหลังการเก็บเมล็ดติดเชื้อเป็นเวลา 22 เดือน พบว่า ในระยะกล้าของทั้งแตงโมและเมล่อนแสดงอาการของโรคโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เฉลี่ยของการเกิดโรคเท่ากับ 21.914 และ 72.46 ตามลำดับ การทดสอบการมีชีวิตรอดของ Aac ในดินและในน้ำ ผลการทดลองในดินพบว่า ปริมาณ Aac ลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณเริ่มต้น โดยในเดือนที่ 10 หลังการทดสอบปริมาณ Aac ไอโซเลทจากแตงโมลดลงจาก 2.7 x 10(8) เหลือ 1.3 x 10(4) เซลล์/มล. ไอโซเลทจากเมล่อนลดลงจาก 4.3 x 10(8) เหลือ 3.8 x 10(5) เซลล์/มล. สำหรับการทดสอบการมีชีวิตรอดของ Aac ในน้ำพบว่า หลังการทดสอบ 9 เดือน ปริมาณ Aac ไอโซเลทจากแตงโมและเมล่อนเพิ่มขึ้นจากปริมาณเริ่มต้น 4.0x 10(8) และ 4.1 x 10(8) เป็น 5.5 x 10(9) และ 6.7 x 10(9) เซลล์/มล. ตามลำดับ