คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การตรวจสอบเชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุโรคพุ่มแจ้ของมันสำปะหลังโดยเทคนิคทางอณูชีววิทยา - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2555 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=5)
+--- เรื่อง: การตรวจสอบเชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุโรคพุ่มแจ้ของมันสำปะหลังโดยเทคนิคทางอณูชีววิทยา (/showthread.php?tid=610)



การตรวจสอบเชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุโรคพุ่มแจ้ของมันสำปะหลังโดยเทคนิคทางอณูชีววิทยา - doa - 12-03-2015

การตรวจสอบเชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุโรคพุ่มแจ้ (witches’ broom) ของมันสำปะหลังโดยเทคนิคทางอณูชีววิทยา
กาญจนา วาระวิชะนี, ปริเชษฐ์ ตั้งกาญจนภาสน์ และวันเพ็ญ ศรีทองชัย
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          โรคพุ่มแจ้ของมันสำปะหลังมีรายงานว่าเกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมาในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่สำคัญของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งลักษณะอาการคล้ายคลึงกับการทำลายของเพลี้ยแป้งและพบอาการพุ่มแจ้ระบาดทุกแหล่งปลูกมันสำปะหลังที่สำคัญของประเทศไทย จึงต้องเร่งสำรวจนำมาพิสูจน์เพื่อให้ทราบว่าอาการพุ่มแจ้เกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมาจริงหรือไม่ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดได้ขึ้นกับผลผลิตต่อไปในอนาคต จากการตรวจสอบตัวอย่างมันสำปะหลังที่มีอาการแตกยอดเป็นกระจุกที่ยอดและกลางลำต้นจากแปลงปลูกรวม 13 จังหวัด รวม 2 วิธีกำร (1.) ด้วยวิธี Nested PCR โดยใช้ไพร์เมอร์ 2 คู่ คือ P1 & T7 และ R16F2n & R16R2 ใช้ดีเอ็นเอของ Manihot esculenta’ witches’-broom ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากนักวิจัยของ CIAT มาเป็น positive control และตรวจสอบด้วย restriction enzyme พบว่าแถบดีเอ็นเอที่ขนาดประมาณ 1,200 เบส นั้นไม่ใช่เชื้อไฟโตพลาสมาซึ่งเกิดมาจากการเกาะที่ผิดพลาดของตำแหน่งไพร์เมอร์เอง และเมื่อตัดพิสูจน์ดีเอ็นเอไฟโตพลาสมา restriction enzyme EcoRI ได้ชิ้นดีเอ็นเอ 2 ชิ้น ขนาดประมมาณ 522 เบส และ 726 เบส แต่ในการทดสอบใช้ restriction enzyme ดังกล่าว ไม่สามารถตัดชิ้นดีเอ็นเอของมันสำปะหลัง และวิธีการ (2.) ด้วยการปักชำศึกษาการเกิดอาการของท่อนพันธุ์ในโรคเรือนทดลองเป็นเวลา 2 เดือน พบว่าใบและกิ่งที่แตกออกมาเป็นปกติ จากผลการทดลองครั้งนี้จึงสรุปว่ายังไม่พบโรคแตกพุ่มฝอย (Phyllody) ที่เกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา แต่อาจเกิดจาการเข้าทำลายของศัตรูพืชชนิดอื่นเพราะจะสังเกตพบเพลี้ยแป้งจำนวนมากบริเวณแตกพุ่มฝอย และอาจมีการเข้าทำลายซ้ำจากเชื้อโรคอื่นร่วมด้วย จึงพบบริเวณท่อน้ำท่ออาหารของพืชบริเวณที่แตกพุ่มฝอยนั้นเป็นสีน้ำตาล