ความชุกชุมและแหล่งอาศัยของนกแสกในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2555 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=5) +--- เรื่อง: ความชุกชุมและแหล่งอาศัยของนกแสกในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (/showthread.php?tid=581) |
ความชุกชุมและแหล่งอาศัยของนกแสกในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - doa - 12-01-2015 ความชุกชุมและแหล่งอาศัยของนกแสก (Tyto alba javanica (Gmelin, 1788) ในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกรียงศักดิ์ หามะฤทธิ์, ปิยาณี หนูกาฬ และทรงทัพ แก้วตา กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ประชากรนกแสกในพื้นที่ที่ทำการสำรวจส่วนใหญ่มีประชากรน้อย บางพื้นที่ไม่พบนกแสกและแหล่งสร้างรังแต่บางพื้นที่มีความชุกชุมสูง ได้แก่ อำเภอเมือง และอำเภอสรรพยา จังหวัดสิงห์บุรี อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี อำเภอพาน และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย อำเภอเมืองและอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ความชุกชุมของนกแสกดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินและเกี่ยวข้องกับความชุกชุมของสัตว์ที่เป็นอาหารของนกแสก สถานที่หลบพักนอนและแหล่งสร้างรัง ชนิดของสถานที่ทำรังส่วนใหญ่เป็นโพรงใต้หลังคาโบสถ์ โพรงไม้ตามต้นไม้ขนาดใหญ่ หลืบหินและถ้ำเล็กๆ บนภูเขา ชนิดสัตว์ที่นกแสกล่าเป็นอาหารมีความแตกต่างกัน ขึ้นกับสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินและพืชที่เพาะปลูก สัตว์ที่นกแสกล่าเป็นอาหารส่วนใหญ่เป็นหนูศัตรูพืชในนาข้าว พืชไร่ และในชุมชน เช่น หนูท้องขาว หนูหริ่ง หนูนาเล็กและหนูนาใหญ่ มีบางพื้นที่ที่พบนกแสกล่าค้างคาวกินแมลง หนูผีนาและกบเขียดเป็นอาหาร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เป็นป่าไม้ สวนป่า พื้นที่ปลูกพืชไร่ ซึ่งมีความชุกชุมของหนูน้อยกว่าสัตว์กลุ่มอื่นๆ
|