การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของแบคทีเรีย P. syringae ในพื้นที่ปลูกหอม กระเทียม - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2555 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=5) +--- เรื่อง: การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของแบคทีเรีย P. syringae ในพื้นที่ปลูกหอม กระเทียม (/showthread.php?tid=568) |
การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของแบคทีเรีย P. syringae ในพื้นที่ปลูกหอม กระเทียม - doa - 12-01-2015 การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของแบคทีเรีย Pseudomonas syringae pv. syringae ในพื้นที่ปลูกหอม กระเทียม เพื่อการส่งออก ทิพวรรณ กันหาญาติ, ดารุณี ปุญญพิทิทักษ์, ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล และรุ่งนภา ทองเคร็ง กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช การสำรวจแบคทีเรีย Pseudomonas syringae pv. syringae ในพื้นที่ปลูกหอม และกระเทียม ดำเนินการสำรวจแบบเฉพาะเจาะจง (Specific survey) เพื่อให้ทราบข้อมูลแบคทีเรีย P. syringae pv. syringae ในพื้นที่สำรวจและในเวลาที่กำหนด ดำเนินการโดยตรวจเอกสารข้อมูลของแบคทีเรีย และลักษณะอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย P. syringae pv. syringae ที่พบในหอมและกระเทียม หาแหล่งปลูกหอมและกระเทียมพร้อมทั้งวางแผนการสำรวจโรค ทำการสำรวจเก็บตัวอย่างหอมแดงและกระเทียม จากจังหวัดศรีสะเกษ บุรีรัมย์ อุตรดิตถ์ ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ จำนวน 38 ตัวอย่าง นำมาตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อแยกแบคทีเรีย P. syringae pv. syringae ผลการตรวจแยกเชื้อบนอาหาร King medium B สามารถแยกเชื้อแบคทีเรียที่สร้างสารเรืองแสงได้ จำนวน 12 ไอโซเลท การทดสอบคุณสมบัติทางชีวเคมี Arginine dihydrolase test เชื้อแบคทีเรียสามารถใช้สาร Arginine ได้ นำตรวจสอบโดยเทคนิค PCR พบว่าแบคทีเรียทั้งหมดไม่ใช่แบคทีเรีย P. syringae pv. syringae
|