การเฝ้าระวังการแพร่กระจายของเพลี้ยไก่แจ้ ในแหล่งปลูกส้มจังหวัดเชียงใหม่ - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2555 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=5) +--- เรื่อง: การเฝ้าระวังการแพร่กระจายของเพลี้ยไก่แจ้ ในแหล่งปลูกส้มจังหวัดเชียงใหม่ (/showthread.php?tid=564) |
การเฝ้าระวังการแพร่กระจายของเพลี้ยไก่แจ้ ในแหล่งปลูกส้มจังหวัดเชียงใหม่ - doa - 12-01-2015 การเฝ้าระวังการแพร่กระจายของเพลี้ยไก่แจ้ (Trioza erytreae (Del Guercio) ในแหล่งปลูกส้มจังหวัดเชียงใหม่ ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา, บุษบง มนัสมั่นคง, สุธามาส ณ น่าน, เจริญ ท่าระเบียบ, จารุฉัตร เขนยทิพย์, ชมัยพร บัวมาศ, วนาพร วงษ์นิคง และชลิดา อุณหวุฒิ กลุ่มบริหารศัตรูพืช, กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สถาบันวิจัยพืชสวน และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 การเฝ้าระวังการแพร่กระจายของเพลี้ยไก่แจ้ (Trioza erytreae (Del Guercio) ในแหล่งปลูกส้มจังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการในแปลงปลูกส้มสายน้ำผึ้งจังหวัดเชียงใหม่ 6 สวน ได้แก่ อำเภอฝาง (2) ไชยปราการ (2) แม่อาย (2) และจังหวัดเชียงราย 3 สวน ได้แก่ อำเภอเมืองเชียงราย (2) และอำเภอแม่สาย (1) รวมทั้งสิ้น 9 สวน ระหว่างเดือนธันวาคม 2553 - กันยายน 2555 โดยติดตั้งกับดักกาวเหนียวจ้านวน 4 กับดัก/ต้น รอบทรงพุ่ม จ้านวน 10 ต้น/สวน เปลี่ยนกับดักกาวเหนียวทุก 1 เดือน ผลการเฝ้าติดตามการแพร่กระจายพบว่า ไม่พบเพลี้ยไก่แจ้ส้มแอฟริกัน Trioza erytreae (Del Guercio) แต่พบเพลี้ยไก่แจ้เอเซีย Diaphorina citri Kuwayama ซึ่งเป็นชนิดที่พบระบาดในพืชตระกูลส้มในประเทศไทย และต้องดำเนินการซ้ำในปีต่อไปเพื่อยืนยันผล
|