การศึกษาประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมหญ้าสาบ - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2555 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=5) +--- เรื่อง: การศึกษาประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมหญ้าสาบ (/showthread.php?tid=553) |
การศึกษาประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมหญ้าสาบ - doa - 12-01-2015 การศึกษาประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมหญ้าสาบ เพ็ญศรี นันทสมสราญ, ภัทร์พิชชา รุจิรพงศ์ชัย, สิริชัย สาธุวิจารณ์ และศิริพร วรกุลดำรงชัย กลุ่มวิจัยวัชพืช และกลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี สถาบันวิจัยพืชสวน การทดลองประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมหญ้าสาบ ดำเนินการทดลองเบื้องต้นในเรือนทดลอง ผลการทดลองพบว่า เมล็ดหญ้าสาบที่เก็บมาเพาะสามารถงอกได้ทันที การควบคุมหญ้าสาบด้วยสารกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอกได้ดีมาก (คะแนน = 10) ได้แก่ paraquat, glufosinate ammonium และรองลงมาควบคุมได้ดี (คะแนน = 9) คือ glyphosate โดยสัมพันธ์กับน้ำหนักแห้งของวัชพืช ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีไม่กำจัดวัชพืช ส่วนสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอกที่ได้ผลดีมีประสิทธิภาพในการควบคุมหญ้าสาบได้ดีมาก (คะแนน = 10) ได้แก่ flumioxazin, oxyfluorfen, diuron, metsulfuron methyl + clorimuron, propisochlor และ atrazine ในสภาพแปลงทุเรียนและเงาะ สารกำจัดวัชพืชที่ได้ผลดีมีประสิทธิภาพโดยประเมินด้วยสายตา และมีน้ำหนักแห้งในแปลงวัชพืชที่ได้ผลดีมีน้ำหนักจากน้อยไปหามาก ได้แก่ flumioxazin, กำจัดวัชพืชด้วยแรงงาน, oxyfluorfen, diuron, paraquat, glufosinate ammonium และ glyphosate ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกรรมวิธีไม่กำจัดวัชพืช ในกรรมวิธี metsulfuron methyl ให้เส้นรอบวงและความสูงของต้นทุเรียนมากที่สุด โดยสารกำจัดวัชพืชไม่มีความเป็นพิษต่อต้นทุเรียนและเงาะ
|