การจำแนกสายพันธุ์ Bacillus thuringiensis ที่พบในประเทศไทยโดยเทคนิค PCR - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2554 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=4) +--- เรื่อง: การจำแนกสายพันธุ์ Bacillus thuringiensis ที่พบในประเทศไทยโดยเทคนิค PCR (/showthread.php?tid=55) |
การจำแนกสายพันธุ์ Bacillus thuringiensis ที่พบในประเทศไทยโดยเทคนิค PCR - doa - 10-13-2015 การจำแนกสายพันธุ์ Bacillus thuringiensis ที่พบในประเทศไทยโดยเทคนิค PCR ภัทรพร สรรพนุเคราะห์, อิศเรส เทียนทัด, สมชัย สุวงศักดิ์ศรี และรัตนา นชะพงศ์ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช จากคัดเลือกเชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis ของกรมวิชาการเกษตรที่สามารถควบคุมหนอนกระทู้หอมและหนอนกระทู้ผักได้มากกว่า 80% จำนวน 11 และ 55 isolate ตามลำดับ นำมาเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณในอาหารเลี้ยงเชื้อ ก่อนนำไปทดสอบกับหนอนกระทู้หอมและหนอนกระทู้ผักวัย 2 พบว่า ไม่มี isolate ใดสามารถทำให้หนอนกระทู้หอมตายมากกว่า 80% มี 7 isolate ที่ทำให้หนอนกระทู้ผักตายตั้งแต่ 80% ได้แก่ 320-3 14-14 281-4 27-1 7-1 และ 320-20 14-4 ตามลำดับ เมื่อนำเชื้อทั้ง 7 isolate ไปตรวจสอบด้วยวิธี PCR โดยใช้อุณหภูมิ 94 องศาเซลเซียส 5 นาที จำนวน 1 รอบ อุณหภูมิ 94 องศาเซลเซียส 1 นาที อุณหภูมิ 54 องศาเซลเซียส 1 นาที อุณหภูมิ 72 องศาเซลเซียส 1 นาที จำนวน 30 รอบ และใช้อุณหภูมิ 72 องศาเซลเซียส 10 นาที จำนวน 1 รอบ จากนั้นนำไปตรวจสอบด้วยวิธี electrophoresis พบว่าเชื้อทั้ง 7 isolate มี cry โปรตีนเป็นชนิด Cry 1AC ซึ่งเป็นชนิดที่สามารถควบคุมหนอนผีเสื้อได้ดี และจะนำเชื้อ Bacillus thuringiensis ของกรมวิชาการเกษตรซึ่งมีจำนวนมาก มาทำการศึกษาต่อไป |