คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ศึกษาชีววิทยาโปรโตซัวที่เข้าทำลายระบบการเลี้ยงหนอนกระทู้ผักเพื่อผลิตไวรัสและการควบคุม - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2554 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=4)
+--- เรื่อง: ศึกษาชีววิทยาโปรโตซัวที่เข้าทำลายระบบการเลี้ยงหนอนกระทู้ผักเพื่อผลิตไวรัสและการควบคุม (/showthread.php?tid=54)



ศึกษาชีววิทยาโปรโตซัวที่เข้าทำลายระบบการเลี้ยงหนอนกระทู้ผักเพื่อผลิตไวรัสและการควบคุม - doa - 10-13-2015

ศึกษาชีววิทยาของโปรโตซัวที่เข้าทำลายระบบการเลี้ยงหนอนกระทู้ผักเพื่อผลิตไวรัส Nucleopolyhedrovirus และการควบคุม
ภัทรพร สรรพนุเคราะห์, อิศเรส เทียนทัด, สมชัย สุวงศ์ศักดิ์ศรี และรัตนา นชะพงศ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          คัดเลือกหนอนกระทู้ผักที่ติดเชื้อโปรโตซัวโดยจะมีลำตัวสีซีดมาทำการปั่นเหวี่ยงที่ความเร็วรอบและเวลาต่างๆ จากนั้นทำ sucrose gradient centrifugation สามารถแยกเศษซากหนอน และเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ ได้ ทำให้เชื้อโปรโตซัวบริสุทธิ์ ทำปั่นเหวี่ยงที่ความเร็วรอบ 1,500 rpm 5 นาที และ 5,000 rpm 10 นาที ได้เชื้อโปรโตซัวมากที่สุด คือ 61.11 x 10(7) PIBs/ml การปั่นเหวี่ยงที่ความเร็วรอบ 1,500 rpm 5 นาที และ 5,000 rpm 20 นาที ได้เชื้อโปรโตซัวน้อยที่สุด คือ 38.75 x 10(7) PIBs/ml แต่กรรมวิธีอื่นๆ ให้ผลไม่แตกต่างกันมากนัก การใช้ความเร็วรอบ 1,000 rpm 3 นาที และ 2,000 rpm 10 นาที จะเป็นกรรมวิธีที่ประหยัดและสิ้นเปลืองเวลาน้อยที่สุด และจากการศึกษาพบว่าเชื้อโปรโตซัวสามารถถ่ายทอดจากหนอนรุ่นพ่อแม่สู่รุ่นลูก (F1) ได้ โดยหนอนที่ได้รับเชื้อโปรโตซัวสามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้เช่นเดียวกับหนอนปกติ แต่จะมีสีซีดกว่า และจะทำการศึกษาผลของโปรโตซัวต่อหนอนในรุ่นต่อๆ ไป