คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ชนิดและแหล่งอาศัยของเชื้อรา Papulaspora sp. และระดับความเสียหายที่พบปนเปื้อน - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2555 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=5)
+--- เรื่อง: ชนิดและแหล่งอาศัยของเชื้อรา Papulaspora sp. และระดับความเสียหายที่พบปนเปื้อน (/showthread.php?tid=487)



ชนิดและแหล่งอาศัยของเชื้อรา Papulaspora sp. และระดับความเสียหายที่พบปนเปื้อน - doa - 11-30-2015

ชนิดและแหล่งอาศัยของเชื้อรา Papulaspora sp. และระดับความเสียหายที่พบปนเปื้อนในการเพาะเห็ดฟาง (Volvariella volvacea) เป็นการค้า
อภิรัชต์ สมฤทธิ์, ธารทิพย ภาสบุตร, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ และสุรีย์พร บัวอาจ
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การศึกษาชนิดและแหล่งอาศัยของเชื้อรา Papulaspora sp. และระดับความเสียหายที่พบปนเปื้อนในการเพาะเห็ดฟาง (Volvariella volvacea) เป็นการค้า ได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2555 โดยสำรวจเก็บตัวอยางวัสดุเพาะเห็ดฟางที่พบเชื้อราสีน้ำตาลเข้าทำลาย แล้วนำเชื้อรามาแยก จำแนกชนิดที่ห้องปฏิบัติการกลุ่มงานวิทยาไมโค กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช พบเชื้อราสีน้ำตาลวัสดุที่เป็นทะลายปาล์มที่เพาะในโรงเรือน จากจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดราชบุรี พบบนวัสดุที่เป็นฟางข้าวเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดสระบุรี เชื้อรานี้เจริญและสร้างเส้นใยได้เร็วบนอาหาร PDA และเร็วกว่าเชื้อเห็ดฟาง และเส้นใยสามารถคลุมทับบนเส้นใยเห็ดฟางได้ และพบว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นในกองเพาะเห็ดฟางที่พบเชื้อมีมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำเชื้อราที่พบมาแยกเชื้อบริสุทธิ์บนอาหาร PDA ในห้องปฏิบัติการ แล้วจำแนกชนิดจากการค้นคว้าเอกสารอ้างอิงจำแนกชนิดได้เป็นเชื้อรา Papulaspora byssina เชื้อราชนิดนี้มีสีน้ำตาล เห็นชัดเจนบนกองวัสดุเพาะ ซึ่งการคลุมของเชื้อรานี้สามารถแผ่ขยายบนกองปุ๋ยหมักได้ด้วยรัศมีหลายเมตรในช่วงเริ่มต้น เชื้อรานี้จะเจริญเป็นกลุ่มเส้นใยสีขาวแนนทึบ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีลักษณะเป็นผงเล็กๆ ละเอียด ลักษณะที่มองเห็นนั้นคล้ายกับฝุ่นผงสีน้ำตาลซึ่งก็คือ สปอร์กลมเล็กของเชื้อรา การศึกษาอัตราการเจริญของเชื้อราบนอาหาร PDA พบว่า เชื้อราเจริญทางเส้นใยได้ค่อนข้างเร็ว โดยเริ่มต้นเชื้อรางอกเส้นใยบางๆ สีขาวครีม และเจริญเต็มจานอาหารเลี้ยงเชื้อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 เซนติเมตร ในเวลา 7 วัน การศึกษาผลของเชื้อรา Papulaspora ที่มีต่อการเจริญของเส้นใยเห็ดฟางด้วยวิธีการ Dual Culture พบว่า เส้นใยเชื้อรา P. byssina ไอโซเลทต่างๆ มีการเจริญบนอาหาร PDA ได้รวดเร็วกว่าเส้นใยเห็ดฟางทำให้เจริญทับคลุมเส้นใยเห็ดฟาง และมีผลทำให้เส้นใยเห็ดฟางเจริญช้าจนถึงหยุดชะงักการเจริญ