คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การจัดการโรคต้นเหี่ยวของฝรั่ง - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2555 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=5)
+--- เรื่อง: การจัดการโรคต้นเหี่ยวของฝรั่ง (/showthread.php?tid=454)



การจัดการโรคต้นเหี่ยวของฝรั่ง - doa - 11-24-2015

การจัดการโรคต้นเหี่ยวของฝรั่ง
สุพัตรา อินทวิมลศรี
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          โรคเหี่ยวฝรั่งระบาดอยางรุนแรงที่อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี, อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และอ.สามพราน จ.นครปฐม ซึ่งเป็นแหล่งปลูกฝรั่งที่สำคัญของภาคกลาง นอกจากนี้ยังพบโรคเหี่ยวฝรั่งที่จ.ชลบุรี กาญจนบุรี แยกเชื้อราสาเหตุได้ เชื้อรา Nalanthamala sp. 4 ไอโชเลท และ Phytopthora sp. 1 ไอโชเลท เชื้อทั้ง 2 มีลักษณะการทำลายคล้ายคลึงกันมาก คือ ทำลายโคนต้น และรากทำให้เกิดอาการยอดและใบไหม้ เหี่ยวบางสวนหรือทั้งต้นและตายในที่สุด สารป้องกันกำจัดเชื้อราที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Nalanthamala sp. ได้ ดีทุกความเข็มข้นที่ 500, 1000, 1500 และ 2,000 ppm จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ สารไตรดีมอฟ (คาลิกซิน), คาร์เบนดาซิม (บาวิสติน) และไมโครบิวทานิล (ซีสเทน-อี) ได้ทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฎิปักษ์ (Bacillas subtilis) จำนวน 50 ไอโชเลท ได้พบว่าแบคทีเรียปฎิปักษ์ จำนวน 5 ไอโชเลท ที่มีประสิทธิภาพดีในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราสาเหตุโรคเหี่ยวได้ดี ซึ่งจะนำไปทดสอบประสิทธิภาพในแปลงทดลองที่สวนเกษตรกร ต.บัวงาม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี รวมกับกรรมวิธีอื่นๆ