การศึกษาชนิด ชีววิทยา และนิเวศวิทยาของแมลงศัตรูในสละ - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2555 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=5) +--- เรื่อง: การศึกษาชนิด ชีววิทยา และนิเวศวิทยาของแมลงศัตรูในสละ (/showthread.php?tid=408) |
การศึกษาชนิด ชีววิทยา และนิเวศวิทยาของแมลงศัตรูในสละ - doa - 11-23-2015 การศึกษาชนิด ชีววิทยา และนิเวศวิทยาของแมลงศัตรูในสละ วนาพร วงษ์นิคง, ศรุต สุทธิอารมณ์, ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา, บุษบง มนัสมั่นคง, อิทธิพล บรรณาการ กลุ่มบริหารศัตรูพืช และกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช การศึกษาชนิด ชีววิทยา และนิเวศวิทยาของแมลงศัตรูในสละ ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2554 ถึงเดือนกันยายน 2555 ในสวนสละของเกษตรที่จังหวัดจันทบุรี พบว่าด้วงเจาะผลสละเป็นแมลงศัตรูสละชนิดใหม่ อยู่ในอันดับ (order ) Coleoptera วงศ์ (family) Anthribidae ซึ่งอยู่ระหว่างการจำแนกชนิด หนอนมีลักษณะสีขาวขุ่น กัดกินอยู่ที่บริเวณเนื้อของผลสละ หนอนระยะสุดท้ายเจาะเข้าไปในเมล็ดเพื่อเข้าดักแด้ ดักแด้มีสีขาวครีม ตัวเต็มวัยเป็นด้วงขนาดเล็ก ลำตัวรี ความยาวประมาณ 5 - 9 มิลลิเมตร ปีกแข็งสีน้ำตาล มีจุดสีดำกระจายทั่วทั้งปีก ปากเป็นแบบกัดกินรูปร่างแบน ยาว คล้ายจอบยื่นลงไปด้านล่าง ตารวมมีขนาดใหญ่เป็นรูปรีเห็นได้ชัดเจน ตัวเต็มวัยเพศเมียมีหนวดสั้น เพศผู้มีหนวดยาวกว่าเพศเมีย ระยะหนอนคาดว่ามีอายุประมาณ 1 - 2 เดือน ระยะดักแด้อายุประมาณ 5 - 9 วัน ระยะตัวเต็มวัยอายุประมาณ 5 - 60 วัน จับคู่ผสมพันธุ์ในช่วงเช้า ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่บริเวณเปลือกสละ ที่บริเวณช่องว่างระหว่างเกล็ดสละ แมลงชนิดนี้เข้าทำลายผลสละที่อายุประมาณ 7 - 9 เดือน หรือเริ่มเก็บเกี่ยวซึ่งอยู่ในช่วงเปลี่ยนสีจากสีน้ำตาลดำเป็นน้ำตาลแดง และเริ่มมีกลิ่นหอม ซึ่งการเข้าทำลายของด้วงเจาะผลสละชนิดนี้ไม่สามารถเห็นร่องรอยการทำลายที่ภายนอก จะทราบว่ามีด้วงชนิดนี้เข้าทำลายก็ต่อเมื่อแกะผลสละดูเท่านั้น
|