คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การพัฒนาเห็ดเศรษฐกิจสายพันธุ์ใหม่ Coprinus comatus (O.F.Müll.) Gray ที่เหมาะสม - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2555 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=5)
+--- เรื่อง: การพัฒนาเห็ดเศรษฐกิจสายพันธุ์ใหม่ Coprinus comatus (O.F.Müll.) Gray ที่เหมาะสม (/showthread.php?tid=390)



การพัฒนาเห็ดเศรษฐกิจสายพันธุ์ใหม่ Coprinus comatus (O.F.Müll.) Gray ที่เหมาะสม - doa - 11-23-2015

การพัฒนาเห็ดเศรษฐกิจสายพันธุ์ใหม่ Coprinus comatus (O.F.Müll.) Gray ที่เหมาะสมกับการเพาะในประเทศไทย
วราพร ไชยมา, อนุสรณ์ วัฒนกุล, กรกช จันทร และอลงกรณ์ กรณ์ทอง
สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ

          เห็ด Coprinus comatus (O.F.Mull) Gray หรือเห็ดถั่วฝรั่ง มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นเห็ดเศรษฐกิจชนิดใหม่ได้ การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดอาหาร อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด และเทคโนโลยีการผลิตเห็ดถั่วฝรั่งโดยทำการรวบรวมเชื้อพันธุ์เห็ดถั่วฝรั่งจากสหรัฐอเมริกา 1 สายพันธุ์ (Comatus 1) สาธารณรัฐประชาชนจีน 4 สายพันธุ์ (Comatus 2, Comatus 3, Comatus 4 และ Comatus 5) คัดเลือกเชื้อเห็ดที่เจริญเติบโตสูงสุด 3 อันดับ (Comatus1 Comatus3 และ Comatus5 ) จากการศึกษาการเจริญของเส้นใยบนอาหารวุ้น 6 ชนิด พบว่าเชื้อเห็ดทั้ง 3 สายพันธุ์ เจริญได้ดีที่สุดบนอาหาร PGPA และที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อนำมาผลิตเชื้อขยายในอาหาร 5 สูตร พบว่า เชื้อเห็ดเจริญได้ดีที่สุดบนอาหารสูตรที่ประกอบด้วยข้าวฟ่างต้ม : CaCo3 : น้ำตาล ใช้เวลาเฉลี่ย 15.25 วัน ศึกษาการเกิดดอกเห็ดด้วยการเพาะในระบบตะกร้าพลาสติก ใช้วัสดุหมักที่ผ่านการพลาสเจอซ์ไรซ์ 7 ชนิด คือ ฟางข้าว : รำข้าว : ยูเรีย : แอมโมเนียมซัลเฟต : ปูนขาว : ยิปซั่ม และทริปเปิ้ลซุปเปอร์ฟอตเฟต พบว่าเชื้อเห็ดทั้ง 3 สายพันธุ์ เจริญได้ดีไม่แตกต่างทางสถิติ จากนั้นกระตุ้นให้เกิดดอกโดยการคลุมผิวหน้าด้วยดินผสม บ่มเลี้ยงในตู้ควบคุมอุณหภูมิที่ 18-20 องศาเซลเซียส เห็ด Comatus 3 และ Comatus 5 ออกดอกรุ่นแรก ใช้เวลา 13.60 และ 14.20 วัน ตามลำดับ และ Comatus 3 ให้ผลผลิตสูงสุด 2,557.10 กรัมต่อตะกร้า สามารถเก็บผลผลิตได้ 3 รุ่น การขยายผลทดสอบเทคโนโลยีที่ได้ในสภาพโรงเรือนเกษตรกรแบบเพาะชั้นที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ในฤดูหนาว (16 – 30°C) โดยใช้วัสดุหมักประกอบด้วย ฟางข้าว : รำข้าว : มูลวัว : ปุ๋ยสูตร 0-46-0 : ปูนขาว : ปุ๋ยยูเรีย และดีเกลือ พบว่าสายพันธุ์ Comatus3 และ Comatus5 ให้ผลผลิตได้ครั้งที่ 1 ไม่แตกต่างทางสถิติ โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 3.04 และ 3.05 กก./ตร.ม. ตามลำดับ จากนั้นทำการประเมินลักษณะของดอกเห็ดแต่ละสายพันธุ์ พบว่า comatus 3 มีขนาดดอกใหญ่ที่สุด