การทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการควบคุมโรคปื้นเหลืองของกล้วยไม้ที่เกิด - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2555 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=5) +--- เรื่อง: การทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการควบคุมโรคปื้นเหลืองของกล้วยไม้ที่เกิด (/showthread.php?tid=389) |
การทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการควบคุมโรคปื้นเหลืองของกล้วยไม้ที่เกิด - doa - 11-23-2015 การทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการควบคุมโรคปื้นเหลืองของกล้วยไม้ที่เกิดจากเชื้อรา วรางคนา แซ่อ้วง, สุรีย์พร บัวอาจ และทัศนาพร ทัศคร กลุ่มบริหารศัตรูพืช และกลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช การทดสอบวิธีการปลูกเชื้อ Pseudocercospora. dendrobii ในกล้วยไม้โดยวิธีต่างๆ นั้นพบว่า การทดลองปลูกเชื้อไม่เกิดการเป็นโรคในต้นกล้วยไม้จึงจะได้ทำการทดลองซ้ำอีกในปีงบประมาณถัดไป
การคัดเลือกและทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการควบคุมโรคใบปื้นเหลืองในห้องปฏิบัติการพบว่า สารเคมีคาร์บอกซิน เปอร์เซ็นต์ยับยั้งได้ 100% รองลงมาคือ สารเคมีไดฟีโนโคนาโซล แคปแทนและแมนโคเซบ ได้ 70.73%, 69.51% และ 55.49% ตามลำดับ ผลการทดลองและเลือกสารป้องกันกำจัดโรคพืชทั้ง 4 ชนิด ที่อัตราความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา P. dendrobii ได้ดี พบว่าสารเคมีคาร์บอกซิน 75% WP อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เปอร์เซ็นต์ยับยั้งได้ 100% รองลงมาคือ สารเคมีแคปแทน 50% WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ไดฟีโนโคนาโซล 25% EC อัตรา 15 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร และแมนโคเซบ 80% WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ได้ 71.69, 70.07 และ 69.61 % ตามลำดับ |