การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของผลมะม่วงสดนำเข้าจากสาธารณรัฐอินเดีย - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2555 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=5) +--- เรื่อง: การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของผลมะม่วงสดนำเข้าจากสาธารณรัฐอินเดีย (/showthread.php?tid=387) |
การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของผลมะม่วงสดนำเข้าจากสาธารณรัฐอินเดีย - doa - 11-23-2015 การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของผลมะม่วงสดนำเข้าจากสาธารณรัฐอินเดีย วรัญญา มาลี, วลัยกร รัตนเดชากุล, คมศร แสงจินดา และสุรพล ยินอัศวพรรณ กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของผลมะม่วงสดนำเข้าจากอินเดีย ดำเนินการที่กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงกันยายน 2555 มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบชนิดศัตรูพืชกักกันและแนวทางการกำหนดมาตรการทางวิชาการด้านสุขอนามัยพืชสำหรับจัดการความเสี่ยงศัตรูพืชของผลมะม่วงสดนำเข้าจากอินเดีย โดยดำเนินการตามมาตรฐานนานาชาติสำหรับมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ 2 เรื่อง กรอบสำหรับการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช และฉบับที่ 11 เรื่อง การวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชสำหรับศัตรูพืชกักกันรวมถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ผลการศึกษาพบว่า ศัตรูพืชกักกันของผลมะม่วงสดนำเข้าจากสาธารณรัฐอินเดียมีจำนวน 11 ชนิด แบ่งตามระดับความเสี่ยงได้ดังนี้ ศัตรูพืชความเสี่ยงสูง ได้แก่ แมลงวันผลไม้ Bactrocera caryeae, B. invadens และด้วงเจาะเมล็ดมะม่วง Sternochetus mangiferae ศัตรูพืชความเสี่ยงปานกลาง ได้แก่ เพลี้ยหอย Abgrallaspis cyanophylli, Pulvinaria polygonata, Aspidiotus nerii, Hemiberlesia rapax, Parlatoria crypta ศัตรูพืชความเสี่ยงต่ำ ได้แก่ ไร Brevipalpus obovatus เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv. mangiferaeindicae และเชื้อรา Nectria rigidiuscula ซึ่งมีความจำเป็นต้องดำเนินมาตรการจัดการความเสี่ยงศัตรูพืชกักกันดังกล่าวก่อนส่งออกมายังประเทศไทย โดยกำหนดให้ดำเนินมาตรการ (1) ผลมะม่วงที่จะส่งออกมายังประเทศไทยต้องมาจากแปลงปลูกในพื้นที่ปลอดแมลงวันผลไม้ B. caryeae, B. invadens และพื้นที่ปลอดด้วงเจาะเมล็ดมะม่วง S. mangiferae หรือ (2) ผลมะม่วงต้องผ่านการฉายรังสีที่ปริมาณรังสีดูดกลืนขั้นต่ำ 400 เกรย์ ร่วมกับใช้มาตรการหลายอย่างร่วมกันอย่างเป็นระบบ (system approach) เช่น การบริหารจัดการศัตรูพืชอย่างเป็นระบบในแปลงปลูกเพื่อส่งออกและการจัดการในโรงบรรจุสินค้า ทั้งนี้ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชแนบมาสินค้าโดยระบุข้อความพิเศษถึงมาตรการที่ดำเนินการ สำหรับมาตรการอื่นที่สนับสนุนการปฏิบัติงาน เช่น การจดทะเบียนสวนและโรงบรรจุสินค้า การตรวจรับรองก่อนส่งออก เป็นต้น
|