วิจัยและพัฒาวิธีกำจัดแมลงด้วยความร้อนสำหรับกำจัดแมลงวันทองในผลแก้วมังกรเพื่อการส่งออก - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2555 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=5) +--- เรื่อง: วิจัยและพัฒาวิธีกำจัดแมลงด้วยความร้อนสำหรับกำจัดแมลงวันทองในผลแก้วมังกรเพื่อการส่งออก (/showthread.php?tid=377) |
วิจัยและพัฒาวิธีกำจัดแมลงด้วยความร้อนสำหรับกำจัดแมลงวันทองในผลแก้วมังกรเพื่อการส่งออก - doa - 11-19-2015 วิจัยและพัฒาวิธีกำจัดแมลงด้วยความร้อนสำหรับกำจัดแมลงวันทองในผลแก้วมังกรเพื่อการส่งออก รัชฎา อินทรกำแหง, สลักจิต พานคำ, ชัยณรัตน์ สนศิริ, มลนิภา ศรีมาตรภิรมย์, ชุติมา อ้อมกิ่ง และอุดร อุณหวุฒิ กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ผู้เชี่ยวชาญ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ศึกษาอัตราการรอดชีวิตและการเจริญเติบโตของแมลงวันทอง Bactrocera dorsalis Hendel ในผลแก้วมังกรในสภาพห้องปฏิบัติการ หนอนแมลงวันทองมีอัตราการรอดชีวิตเฉลี่ยสูงสุด คือ 69 เปอร์เซ็นต์ และมีระยะการเจริญเติบโต คือ หนอนวัย 1 อายุ 1-2 วัน หนอนวัย 2 อายุ 2-3 วัน หนอนวัย 3 อายุ 3-7 วัน ตามลำดับ การเตรียมผลแก้วมังกรโดยวิธี forced infestation โดยบังคับให้แมลงวันทองวางไข่เฉพาะบริเวณที่เจาะรูจำนวน 5 รู แมลงวันทองสามารถรอดชีวิตและเจริญเติบโตในเนื้อแก้วมังกร จากการศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมให้แมลงวันทองวางไข่ในผลแก้วมังกร คือ 40 นาที จะได้หนอนแมลงวันทองวัย 3 รอดชีวิตเฉลี่ยในผลแก้วมังกรสูงสุดประมาณ 116.9 ตัว
ศึกษาผลกระทบของกรรมวิธีลดความร้อน 2 วิธีการ คือ วิธีการลดอุณหภูมิด้วยน้ำ และวิธีการลดอุณหภูมิด้วยอากาศ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ากรรมวิธีลดอุณหภูมิด้วยน้ำมีแนวโน้มที่ทำให้แก้วมังกรสูญเสียน้ำหนักและเปลือกผล เกิดอาการเหี่ยวน้อยกว่ากรรมวิธีลดอุณหภูมิด้วยน้ำ ถึงแม้ว่าจำนวนผลที่เกิดแผลเน่ามีจำนวนมากกว่ากรรมวิธีลดอุณหภูมิด้วยอากาศ แต่ไม่ได้แตกต่างจากวิธีเปรียบเทียบ ดังนั้นวิธีการลดอุณหภูมิด้วยน้ำทำให้ผลแก้วมังกรมีคุณภาพดีกว่าวิธีการลดอุณหภูมิด้วยอากาศ
|