การคัดเลือกพันธุ์ถั่วเขียวเพื่อต้านทานโรคไวรัสใบด่างเหลืองโดยใช้เทคนิคอณูชีวิทยา - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2555 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=5) +--- เรื่อง: การคัดเลือกพันธุ์ถั่วเขียวเพื่อต้านทานโรคไวรัสใบด่างเหลืองโดยใช้เทคนิคอณูชีวิทยา (/showthread.php?tid=360) |
การคัดเลือกพันธุ์ถั่วเขียวเพื่อต้านทานโรคไวรัสใบด่างเหลืองโดยใช้เทคนิคอณูชีวิทยา - doa - 11-19-2015 การคัดเลือกพันธุ์ถั่วเขียวเพื่อต้านทานโรคไวรัสใบด่างเหลืองโดยใช้เทคนิคอณูชีวิทยา กาญจนา วาระวิชะนี, วันเพ็ญ ศรีทองชัย, สุมนา งามผ่องใส และเชาวนาถ พฤทธิเทพ กลุ่มงานไวรัสวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนยวิจัยพืชไร่ชัยนาท สถาบันวิจัยพืชไร่ โรคไวรัสใบด่างเหลืองถั่วเขียว (Mumgbean Yellow Mosaic Virus, MYMV) สร้างความเสียหายให้กับพืชตระกูลถั่วได้ทุกระยะการเจริญเติบโตโดยเฉพาะถั่วเขียวผิวมัน เมื่อโรคเข้าทำลายในระยะต้นกล้าจะไม่สามารถเก็บผลผลิตได้เลย ดังนั้น วิธีการคัดเลือกพันธุ์ถั่วเขียวต้องมีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลพันธุ์ที่ทดสอบเพื่อประโยชน์ทางด้านการปรับปรุงพันธุ์ให้ต้านทานโรคนี้ต่อไปในอนาคต การคัดเลือกพันธุ์ถั่วเขียวเพื่อต้านทานโรคไวรัสใบด่างเหลืองโดยเทคนิค Polymerase Chain Reaction (PCR) ด้วยไพร์เมอร์ที่เฉพาะเจาะจงกับเชื้อ (specific primer) กับ DNA-A ทั้งวง จำนวน 3 คู่ คือ MYMV-V2-F1 & MYMV-C3-F1, MYMV-V2-R2 & MYMV-C3-F2 และ MYMV-V2-R3 & MYMV-C1-F3 และเมื่อเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์เชื้อไวรัส MYMV-A สาเหตุโรคไวรัสใบด่างเหลืองกับฐานข้อมูล GenBank พบว่า คล้ายกับเชื้อไวรัส MYMV ในประเทศปากีสถาน และอินเดีย ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินหาไพร์เมอร์ที่เฉพาะเจาะจงกับเชื้อ (specific primer) กับ DNA-B ทั้งวงต่อไป ในส่วนการทดสอบการคัดเลือกสายพันธุ์ถั่วเขียวให้ต้านทานโรคไวรัสใบด่างเหลืองให้ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาทในงบประมาณปี 2555 สามารถทดสอบได้ สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ VC 1163, BVC 1488-2-3B และ VC 1448-7-3B เท่านั้น โดยนำถั่วเขียวทุกสายพันธุ์มาปลูกเชื้อไวรัส MYMV ด้วยแมลงหวี่ขาวและสังเกตอาการภายในเรือนทดลองรวม 45 วัน หลังจากนั้นประเมินความรุนแรงของโรคจากการสังเกตด้วยตาเปล่าและอ้างอิงตามเกณฑ์ Disease Scoring Scale (1-9) for MYMV (Sadiq et al., 2006) จากการทดสอบพบว่า ถั่วเขียวทั้ง 3 สายพันธุ์ มีการเข้าทำลายของโรคใบด่างเหลืองเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ประเมินความรุนแรงของโรคอยู่ที่ระดับ 9 หมายถึง พืชแสดงความอ่อนแอต่อโรคมากจึงไม่ต้องนำมาตรวจการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส MYMV ด้วยเทคนิค PCR สำหรับสายพันธุ์ VC 1448-7-3B แสดงอาการอ่อนแอต่อโรคมาก ต้นเป็นโรคใบเล็ก ด่างเหลือง และใบไหม้แห้งตาย และขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการปลูกทดสอบสายพันธุ์ ถั่วเขียวให้ครบทั้ง 60 สายพันธุ์ ซึ่งจะสรุปผลในปีงบประมาณ 2556 ต่อไป
|