วิจัยและพัฒนาการจัดการโรคมะเม่า - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2555 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=5) +--- เรื่อง: วิจัยและพัฒนาการจัดการโรคมะเม่า (/showthread.php?tid=337) |
วิจัยและพัฒนาการจัดการโรคมะเม่า - doa - 11-19-2015 วิจัยและพัฒนาการจัดการโรคมะเม่า พรพิมล อธิปัญญาคม, ชนินทร ดวงสะอาด และสุณีรัตน์ สีมะเดื่อ กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช จากการสำรวจโรคมะเม่าในปี 2554 - 2555 พบโรคใบจุด ราดำ อาการเปลือกแตกยางไหล และอาการต้นโทรม อาการเปลือกแตกยางไหลแยกและจำแนกชนิดได้ รา Lasiodiplodia theobromae อาการโคนต้นมะเม่าที่แสดงอาการเหี่ยวบนต้น โดยวิธี Tissue transplanting บนอาหาร PDA และ selective media: RNV พบรา 4 ชนิด ได้แก่ Lasiodiplodia theobromae ราอีก 3 ชนิด ยังไม่สร้างสปอร์ และการแยกเชื้อบนอาหาร RNV ไม่พบรา Phytophthora อาการต้นโทรม ใบเหลือง แยกเชื้อสาเหตุได้เชื้อ 3 ชนิด ได้แก่ ราลักษณะเส้นใยหยาบสีขาว ไม่สร้างสปอร์ Lasiodiplodia theobromae และ Fusarium เชื้อที่แยกได้นี้จะต้องนำมาทดสอบการเกิดโรคต่อไป เก็บเชื้อที่แยกได้ไว้ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
|