การคัดเลือกและพัฒนาวิธีการเลี้ยงเชื้อราบิวเวอเรีย เพื่อใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืช - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2554 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=4) +--- เรื่อง: การคัดเลือกและพัฒนาวิธีการเลี้ยงเชื้อราบิวเวอเรีย เพื่อใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืช (/showthread.php?tid=324) |
การคัดเลือกและพัฒนาวิธีการเลี้ยงเชื้อราบิวเวอเรีย เพื่อใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืช - doa - 11-18-2015 การคัดเลือกและพัฒนาวิธีการเลี้ยงเชื้อราบิวเวอเรีย (white muscardine fungus); Beauveria bassiana (Balsamo) เพื่อใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืช เสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์, อิศเรส เทียนทัด และวิไลวรรณ เวชยันต์ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช การคัดเลือกและพัฒนาวิธีการเลี้ยงเชื้อราบิวเวอเรีย ทำการวิจัยในช่วงเดือนตุลาคม 2553 - กันยายน 2554 ที่ห้องปฏิบัติการกลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืชทางชีวภาพ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร จากการเก็บตัวอย่างแมลงเป็นโรคในธรรมชาติจำนวนทั้งหมด 12 ตัวอย่าง ได้แก่ เชื้อราจากใบส้มโอ อ.บางขันแตก จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 1 ตัวอย่าง, เชื้อราจากเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา จำนวน 1 ตัวอย่าง, เชื้อราจากหนอนแทะเปลือกลองกอง จ.จันทบุรี จำนวน 1 ตัวอย่าง และเชื้อราจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวที่ จ.สุพรรณบุรี จำนวน 9 ตัวอย่าง เมื่อนำมาแยกเชื้อให้บริสุทธิ์พบเป็นเชื้อราแมลงจำนวน 3 ชนิด คือ Paecillomyces sp., Lecanicillium sp. และ Isaria sp นอกจากนี้ได้รับความอนุเคราะห์ตัวอย่างเชื้อราบิวเวอเรียจากศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร ซึ่งแยกเชื้อจากมอดเจาะเมล็ดกาแฟ รวมทั้งขอความอนุเคราะห์เชื้อจากกรมส่งเสริมการเกษตรซึ่งแยกเชื้อจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพื่อนำมาใช้ทดสอบกับแมลงศัตรูพืชเนื่องจากในปีงบประมาณ 2554 ไม่สามารถเก็บเชื้อราบิวเวอเรียจากแมลงเป็นโรคในธรรมชาติได้ ดังนั้น การทดลองในปีงบประมาณ 2555 จะนำเชื้อราบิวเวอเรียที่ได้รับความอนุเคราะห์จากศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพรมาทำการทดสอบประสิทธิภาพแทน โดยเน้นการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชได้แก่ หนอนกระทู้ผัก, หนอนกระทู้หอม, เพลี้ยแป้ง และใช้เชื้อราบิวเวอเรียจากกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นตัวเปรียบเทียบ ส่วนเชื้อราโรคแมลงที่แยกได้ในปี 2554 ได้แก่ Paecillomyces sp., Lecanicillium sp. และ Isaria sp. จะเก็บรักษาสายพันธุ์ไว้ เพื่อการศึกษาต่อไปในอนาคต
|