คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ชีววิทยาและการแพร่กระจายของดาดตะกั่ว - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2554 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=4)
+--- เรื่อง: ชีววิทยาและการแพร่กระจายของดาดตะกั่ว (/showthread.php?tid=323)



ชีววิทยาและการแพร่กระจายของดาดตะกั่ว - doa - 11-18-2015

ชีววิทยาและการแพร่กระจายของดาดตะกั่ว
เสริมศิริ คงแสงดาว, กลอยใจ คงเจี้ยง และภัทร์พิชชา รุจิระพงษ์ชัย
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ดาดตะกั่ว (Hemigraphis); Hemigraphis reptans (G. Forst.) T. Anderson เป็นวัชพืชข้ามปีพบในโรงเรือนและสวนกล้วยไม้ ต้นดาดตะกั่วเดี่ยวๆ ดูสวยงามดี ทำให้เกษตกรปล่อยไว้ในแปลงจนต้นดาดตะกั่วซึ่งออกดอกผลิตเมล็ดเร็ว จำนวนมาก ดีดเมล็ดออกไปได้ไกล เช่นเดียวกับต้อยติ่งขยายพันธุ์ได้ทั้งเมล็ดและแตกกิ่งใหม่จากตอ ทำให้กำจัดได้ไม่สมบูรณ์ จึงต้องมีการศึกษาชีววิทยาและการแพร่กระจายของดาดตะกั่ว เพื่อให้ได้ข้อมุลนำไปจัดการดาดตะกั่วต่อไป ในปี 2554 ได้ทำการศึกษาความงอกและการเจริญเติบโตของดาดตะกั่ว โดยเก็บต้นดาดตะกั่วจากแปลงกล้วยไม้ที่มีปัญหาดาดตะกั่ว ที่จังหวัดนครปฐม แบ่งเมล็ดสำหรับเพาะ 9 ครั้ง ตั้งแต่ทันทีหลังเก็บ (0 เดือน) และ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 เดือน แต่ละชุดทำการทดลองโดยวางแผนการทดลองแบบ CRD มี 4 กรรมวิธี โดยเพาะใน 4 สภาพเพาะในจานแก้ว สภาพสว่าง และสภาพมืด เพาะในกาบมะพร้าว และเพาะในดิน แต่ละสภาพเพาะเมล็ด 20 หน่วยทดลอง (50 เมล็ด/ 1 หน่วยทดลอง) บันทึกข้อมูลความงอก และวัดการเจริญเติบโต

          ดาดตะกั่ว (Hemigraphis); Hemigraphis reptans (G. Forst.) T. Anderson เป็นวัชพืชข้ามปีพบในโรงเรือนและสวนกล้วยไม้ ต้นดาดตะกั่วเดี่ยวๆดูสวยงามดี ทำให้เกษตกรปล่อยไว้ในแปลงจนต้นดาดตะกั่วซึ่งออกดอกผลิตเมล็ดเร็ว จำนวนมาก ดีดเมล็ดออกไปได้ไกล เช่นเดียวกับต้อยติ่งขยายพันธุ์ได้ทั้งเมล็ดและแตกกิ่งใหม่จากตอ ทำให้กำจัดได้ไม่สมบูรณ์ จึงต้องมีการศึกษาชีววิทยาและการแพร่กระจายของดาดตะกั่ว เพื่อให้ได้ข้อมุลนำไปจัดการดาดตะกั่วต่อไป ในปี 2554 ได้ทำการศึกษาความงอกและการเจริญเติบโตของดาดตะกั่ว โดยเก็บต้นดาดตะกั่วจากแปลงกล้วยไม้ที่มีปัญหาดาดตะกั่ว ที่จังหวัดนครปฐม แบ่งเมล็ดสำหรับเพาะ 9 ครั้ง ตั้งแต่ทันทีหลังเก็บ (0 เดือน) และ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 เดือน แต่ละชุดทำการทดลองโดยวางแผนการทดลองแบบ CRD มี 4 กรรมวิธี โดยเพาะใน 4 สภาพเพาะในจานแก้ว สภาพสว่าง และสภาพมืด, เพาะในกาบมะพร้าว และเพาะในดิน แต่ละสภาพเพาะเมล็ด 20 หน่วยทดลอง (50 เมล็ด/ 1 หน่วยทดลอง) บันทึกข้อมูลความงอก และวัดการเจริญเติบโต