อนุกรมวิธานและชีววิทยาของไส้เดือนฝอยสกุล Radopholus - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2554 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=4) +--- เรื่อง: อนุกรมวิธานและชีววิทยาของไส้เดือนฝอยสกุล Radopholus (/showthread.php?tid=301) |
อนุกรมวิธานและชีววิทยาของไส้เดือนฝอยสกุล Radopholus - doa - 11-18-2015 อนุกรมวิธานและชีววิทยาของไส้เดือนฝอยสกุล Radopholus นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด และช่อทิพย์ ศัลยพงษ์ กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักควบคุมวัสดุการเกษตร แยกได้ไส้เดือนฝอยสกุล Radopholus จากรากพรรณไม้น้ำในฟาร์มผลิตเขตกรุงเทพมหานครนำไปผ่านกระบวนการรักษาสภาพ โดยการดึงน้ำออกจากตัวไส้เดือนฝอยและแทนที่ด้วยกลีเซอรีนจากนั้นนำตัวเต็มวัยเพศเมีย - เพศผู้ไปทำสไลด์ถาวรเพื่อวัดขนาดลำตัวภายใต้กล้องจุลทรรศน์ และถ่ายภาพผลการวัดขนาดตัวเต็มวัยเพศเมีย L = 650.5 (576.0-722.0) ไมครอน; W = 21.2 (21.0-22.0) ไมครอน; Stylet = 20.6 (18.0-24.0) ไมครอน; tail = 60.3 (55.0-65.0) ไมครอน; ค่าสัดส่วน a = 30.7 (26.6-32.8); b = 8.9 (7.9-10.6); c = 10.8 (10.1-12.2); % Vulva = 55.0 (52.1-58.9) % เมื่อนำขนาดสัดส่วนและภาพถ่ายเปรียบเทียบกับ Key ไส้เดือนฝอย สามารถจำแนกในเบื้องต้นเป็นชนิด (species) Radopholus similis จากศึกษาการเจริญเติบโตของไส้เดือนฝอย R. similis ในชิ้นแครอทสภาพปลอดเชื้อ เพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิ 22 และ 32 องศาเซลเซียส พบว่า ไส้เดือนฝอยเจริญเติบโตครบวงจรชีวิตจากตัวเต็มวัยถึงตัวเต็มวัยใช้เวลา 28 และ 20 วัน ที่อุณหภูมิตามลำดับ โดยพบไส้เดือนฝอยระยะตัวอ่อนในวันที่ 10 ที่อุณหภูมิ 22 องศาเซลเซียส และวันที่ 5 ที่อุณหภูมิ 32 องศาเซลเซียส หลังจากเพาะเลี้ยงบนชิ้นแครอท อุณหภูมิที่สูงขึ้นมีผลต่อการเจริญเติบโตของไส้เดือนฝอยได้เร็วกว่าอุณหภูมิต่ำ
|