การพัฒนาน้ำหมักกระเทียมร่วมกันสมุนไพรอื่นเพื่อควบคุมโรคแคงเกอร์ของมะนาว - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2554 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=4) +--- เรื่อง: การพัฒนาน้ำหมักกระเทียมร่วมกันสมุนไพรอื่นเพื่อควบคุมโรคแคงเกอร์ของมะนาว (/showthread.php?tid=299) |
การพัฒนาน้ำหมักกระเทียมร่วมกันสมุนไพรอื่นเพื่อควบคุมโรคแคงเกอร์ของมะนาว - doa - 11-18-2015 การพัฒนาน้ำหมักกระเทียมร่วมกันสมุนไพรอื่นเพื่อควบคุมโรคแคงเกอร์ของมะนาว นลินี ศิวากรณ์, เพลินพิศ สงสังข์ และวสันต์ ผ่องสมบูรณ์ กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิชาการ สถาบันวิจัยพืชสวน ประสิทธิภาพของน้ำหมักจากกระเทียมและสมุนไพรอื่นต่อโรคแคงเกอร์ของมะนาวในแปลงปลูกอำเภอศาลายา จังหวัดนครปฐม พบว่าสารเคมีคอปเปอร์ไฮครอกไซด์แสดงคะแนนความรุนแรงของการเกิดโรคเฉลี่ย 27.04% และน้ำหนักผลผลิตของผลมะนาวต่อ 10 ผล เท่ากับ 320 กรัม น้ำหมักจากกระเทียมและสะเดาแสดงความรุนแรงของการเกิดโรคเฉลี่ย 40.45% และน้ำหนักผลผลิตของผลมะนาวต่อ 10 ผล เท่ากับ 340 กรัม น้ำหมักกระเทียมและหนอนตายหยากแสดงความรุนแรงของการเกิดโรคเฉลี่ย 47.49% และน้ำหนักผลผลิตของผลมะนาวต่อ 10 ผล เท่ากับ 350 กรัม และกรรมวิธีเปรียบเทียบ (Control) แสดงความรุนแรงของการเกิดโรค 44.21% และน้ำหนักผลผลิตของผลมะนาวต่อ 10 ผล เท่ากับ 360 กรัม จากการทดลองทุกกรรมวิธีให้น้ำหนักผลผลิตต่ำกว่ากรรมวิธีเปรียบเทียบและการพัฒนาสมุนไพรโดยการหมักในกากน้ำตาลไม่สามารถลดการเกิดโรคแคงเกอร์ของมะนาวแตกลับส่งเสริมให้การเกิดโรคเพิ่มขึ้นจึงจำเป็นต้องพัฒนาโดยใช้ตัวทำละลายอื่นในการหมักสมุนไพรต่อไป
|