การคัดเลือกสายพันธุ์มะละกอต้านทานไวรัสจุดวงแหวน Papaya ring spot virus สภาพเรือนทดลอง - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2554 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=4) +--- เรื่อง: การคัดเลือกสายพันธุ์มะละกอต้านทานไวรัสจุดวงแหวน Papaya ring spot virus สภาพเรือนทดลอง (/showthread.php?tid=291) |
การคัดเลือกสายพันธุ์มะละกอต้านทานไวรัสจุดวงแหวน Papaya ring spot virus สภาพเรือนทดลอง - doa - 11-18-2015 การคัดเลือกสายพันธุ์มะละกอต้านทานไวรัสจุดวงแหวน Papaya ring spot virus ในสภาพเรือนทดลอง ปริเชษฐ์ ตั้งกาญจนภาสน์, วันเพ็ญ ศรีทีทองชัย, กาญจนา วาระวิชะนี และธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์ กลุ่มงานไวรัสวิทยา สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ สถาบันวิจัยพืชสวน เชื้อ Papaya ringspot virus (PRSV) เป็นศัตรูพืชที่สำคัญของมะละกอ ทำให้เกิดโรคด่างวงแหวน สร้างความเสียหายกับการผลิตมะละกอ โดยทำให้ผลผลิตลดลงและคุณภาพที่ได้ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งมะละกอสายพันธุ์ที่เป็นที่นิยมในท้องตลาดหลายสายพันธุ์ เช่น แขกดำ และขอนแก่น 1, 2 มีความอ่อนแอต่อโรคนี้มาก ปัจจุบันมีการนำเอาเทคนิคทางเทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการดัดแปลงตัดต่อสารพันธุกรรมใหพืชมีความสามารถในการต้านทานโรคด่างวงแหวนได้ แต่พบว่ากลับไม่เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศเนื่องจากการความกังวลของผู้บริโภคต่อความปลอดภัยในการบริโภค และความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ เช่น การผสมกับพันธุ์พื้นเมือง เป็นต้น ทำให้ปัญหาการเข้าทำความเสียหายของโรคด่างวงแหวนยังคงเป็นปัญหาสำหรับเกษตรกรผู้ผลิตมะละกอต่อไป วิธีการคัดเลือกพันธุ์แบบดั้งเดิมโดยนักปรับปรุงพันธุ์จึงเป็นทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ แต่อย่างไรก็ดี การตรวจคัดเลือกสายพันธุ์มะละกอที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงพันธุ์ว่ามีคุณสมบัติในการต้านทานโรคได้หรือไม่เป็นสิ่งที่สำคัญที่นักไวรัสวิทยาความจำต้องเขามาร่วมประสานงานทำการทดสอบพันธุ์ต้านทานโรค เพื่อให้มะละกอสายพันธุ์ต้านทานที่กรมวิชาการเกษตรผลิตได้มีคุณภาพและเข้าถึงเกษตรกรไทยได้
|