คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การจัดการสารละลายธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศเชอรี่ พริกขี้หนู - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2564 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=42)
+--- เรื่อง: การจัดการสารละลายธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศเชอรี่ พริกขี้หนู (/showthread.php?tid=2898)



การจัดการสารละลายธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศเชอรี่ พริกขี้หนู - doa - 10-28-2022

การจัดการสารละลายธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศเชอรี่ พริกขี้หนูผลใหญ่ พริกหยวก แตงโมไร้เมล็ด และแตงกวาญี่ปุ่น ในระบบโรงเรือน
อรัญญ์ ขันติยวิชย์, รัติกาล ยุทธศิลป์, ศิลดา ประนาโส, ณัฏฐ์ชยธร ขัตติยะพุฒิเมธ, ปภัสสร สีลารักษ์, อุบล หินเธาว์ และจริยาภรณ์ ทิพโชติ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรขอนแก่น สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 และกองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของผักกินผลที่ปลูกในโรงเรือน ทดลองปลูกผักกินผล 5 ชนิด ได้แก่ มะเขือเทศเชอรี่ พริกขี้หนูผลใหญ่ พริกหยวก แตงโมไร้เมล็ด และแตงกวาญี่ปุ่น ดำเนินงานระหว่างตุลาคม 2561 – มีนาคม 2563 ผลการทดลอง พบว่า ระดับความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารมีผลต่อความสูง น้ำหนักสด น้ำหนักแห้ง และผลผลิตของผักกินผลทุกขนิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับอัตราสารละลายธาตุอาหารแบบเข้มข้นที่ปลูกผักกินผลแต่ละชนิดแล้วได้ผลผลิตดีที่สุดนั้น พบว่ามะเขือเทศเชอรี่ ใช้สารละลายธาตุอาหารแบบเข้มข้น 3 มิลลิลิตรของอัตราส่วนสารละลายเอบี 1:1 1.2:1 1.6:1 และ 2.4:1 ของช่วงเวลาหลังย้ายปลูกมะเขือเทศเชอรี่ ในสัปดาห์ที่ 2-3 4-6 7-9 และสัปดาห์ที่ 10-12 ตามลำดับ ผลผลิตอยู่ระหว่าง 333.88 - 390.52 กรัมต่อต้น ส่วนพริกขี้หนูผลใหญ่ ใช้สารละลายธาตุอาหารแบบเข้มข้น 6 มิลลิลิตรของอัตราส่วนสารละลายเอบี 1:1 1.2:1 1.6:1 และ 2.4:1 ของช่วงเวลาหลังย้ายปลูกพริกขี้หนูผลใหญ่ ในสัปดาห์ที่ 2-4 5-7 8-9 และสัปดาห์ที่ 10-11 ตามลำดับ ผลผลิต 745.1 กรัมต่อต้น เช่นเดียวกับพริกหยวกใช้สารละลายธาตุอาหารแบบเข้มข้น 6 มิลลิลิตรของอัตราส่วนสารละลายเอบี 1:1 1.2:1 1.6:1 และ 2.4:1 ของช่วงเวลาหลังย้ายปลูกพริกหยวกในสัปดาห์ที่ 2-4 5-7 8-9 และสัปดาห์ที่ 10-11 ตามลำดับ ผลผลิต 190.98 กรัมต่อต้น สำหรับแตงโมไร้เมล็ดใช้สารละลายธาตุอาหารแบบเข้มข้น 4 มิลลิลิตรของอัตราส่วนสารละลายเอบี 1:1 1.2:1 1.6:1 และ 2.4:1 ของช่วงเวลาหลังย้ายปลูกแตงโมไร้เมล็ด ในสัปดาห์ที่ 2 3-4 5 และสัปดาห์ที่ 6-7 ตามลำดับ ผลผลิตอยู่ระหว่าง 1.138 - 1.296 กก./ต้น สุดท้ายแตงกวาญี่ปุ่น ใช้สารละลายธาตุอาหารแบบเข้มข้น 5 มิลลิเมตรของอัตราส่วนสารละลายเอบี 1:1 1.2:1 1.6:1 และ 2.4:1 ของช่วงเวลาหลังย้ายปลูกแตงกวาญี่ปุ่น ในสัปดาห์ที่ 2-3 4-5 6-7 และสัปดาห์ที่ 8 ตามลำดับ ผลผลิตอยู่ระหว่าง 896.80 – 1014.98 กรัมต่อต้น

คำสำคัญ: สารละลายธาตุอาหาร ผักกินผล โรงเรือน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน