คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
พัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์โบรอนในดินด้วยเทคนิคอินดักทีพลีคัพเปิลพลาสมา - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2564 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=42)
+--- เรื่อง: พัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์โบรอนในดินด้วยเทคนิคอินดักทีพลีคัพเปิลพลาสมา (/showthread.php?tid=2879)



พัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์โบรอนในดินด้วยเทคนิคอินดักทีพลีคัพเปิลพลาสมา - doa - 10-28-2022

พัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์โบรอนในดินด้วยเทคนิคอินดักทีพลีคัพเปิลพลาสมาสเปคโตรเมทรี
จิตติรัตน์ ชูชาติ, สงกรานต์ มะลิสอน, พจมาลย์ ภู่สาร, ญาณธิชา จิตต์สะอาด, สุภา โพธิจันทร์ และกัณฐณา คล้ายแก้ว
กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


          การพัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์โบรอนในดินในรูปของ Extractable Boron โดยการสกัดดินด้วยวิธี Hot-CaCl2 soluble Boron และนำไปวิเคราะห์ด้วยเครื่อง Inductively Coupled Plasma Emission Spectrometer โดยมีขอบข่ายของการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์โบรอนในดินอยู่ในช่วง 0.05 – 1.90 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยมีผลการทดสอบพบว่า ให้ผลการทดสอบอยู่ในเกณฑ์การยอมรับ โดยมีค่า Limit of Detection (LOD) เท่ากับ 0.03 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ Limit of Quantitation (LOQ) เท่ากับ 0.04 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เมื่อพิสูจน์ค่าความถูกต้อง (Trueness) และค่าความเที่ยง (Precision) ของ LOQ ที่ความเข้มข้น 0.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ได้ค่า %Recovery เท่ากับ 99.06 และ HorRat (Horwitz’ Ratio) เท่ากับ 0.91 ทำการวิเคราะห์ CRM ที่ระดับความเข้มข้นต่ำ กลาง และสูง มาคำนวณ %Recovery เพื่อความถูกต้อง (Trueness) และค่า HorRat (Horwitz’ Ratio) ของการวิเคราะห์ซ้ำแบบต่างเวลากัน เพื่อพิสูจน์ความเที่ยง ได้ผลการทดลองดังนี้ ที่ระดับความเข้มข้นต่ำ กลาง และระดับความเข้มข้นสูงมี %Recovery เท่ากับ 95.29, 101.61 และ 100.05 ตามลำดับ ค่า HorRat (Horwitz’ Ratio) ของการวิเคราะห์ซ้ำแบบต่างเวลากัน (Intermediate) เท่ากับ 0.40, 0.38 และ 0.46 ตามลำดับ ผ่านเกณฑ์การยอมรับตาม AOAC ทั้งหมดโดย %Recovery อยู่ในช่วง 80 - 110% และ HorRat (Horwitz’ Ratio) < 1.3 ผลการศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อม Ruggedness พบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมของการทดสอบ ไม่มีผลกระทบต่อวิธีวิเคราะห์โบรอน และวิธีมีความคงทนต่อการนำไปใช้เป็นวิธีอ้างอิงของห้องปฏิบัติการได้ ดังนั้นวิธีวิเคราะห์โบรอนที่สกัดได้ในดินด้วยเทคนิค Inductively Coupled Plasma Emission Spectrometry จึงมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการตรวจ ที่ทำเป็นงานประจำและต้องการผลการวิเคราะห์ที่รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ

คำสำคัญ: การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี, โบรอนในดิน, เทคนิคอินดักทีพลีคัพเปิลพลาสมาสเปคโตรเมทรี