พัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์โบรอนในปุ๋ยเคมีด้วยเทคนิคอินดักทีพลีคัพเปิล - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2564 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=42) +--- เรื่อง: พัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์โบรอนในปุ๋ยเคมีด้วยเทคนิคอินดักทีพลีคัพเปิล (/showthread.php?tid=2878) |
พัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์โบรอนในปุ๋ยเคมีด้วยเทคนิคอินดักทีพลีคัพเปิล - doa - 10-28-2022 พัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์โบรอนในปุ๋ยเคมีด้วยเทคนิคอินดักทีพลีคัพเปิลพลาสมาสเปคโตรเมทรี อาธิยา ปุ่นประโคน, จริยา วงศ์ตรี และวรรณรัตน์ ชุติบุตร กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร การพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์โบรอนในปุ๋ยเคมี เพื่อให้ได้เทคนิควิธีการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำ สามารถอ้างอิงได้ตามมาตรฐานสากล ทำให้เป็นที่ยอมรับห้องปฏิบัติการ ทำการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ได้ค่า correlation coefficient ® ที่แสดงความเป็นเส้นตรง Linearity range และ Working range ผ่านเกณฑ์กำหนดมีปริมาณที่ต่ำสุดที่สามารถวัดได้ (LOD) เท่ากับ 0.002%B และปริมาณต่ำสุดที่สามารถวิเคราะห์และรายงานผลได้ (LOQ) เท่ากับ 0.004 %B ดำเนินการพิสูจน์ความถูกต้อง (trueness) และ ความเที่ยง (Precision) ของ LOQ ได้ %Recovery เท่ากับ 100.0 ได้ HorRat เท่ากับ 0.33 การทดสอบผ่านเกณฑ์ยอมรับ Metrix effect โดยเปรียบเทียบความชันของกราฟ ระหว่าง Std B spike standard B ลงใน Sample blank โดยกราฟ เมื่อคำนวณความชันของกราฟทั้งสอง มีความแตกต่างกัน เท่ากับ 3.92% แสดงว่ามีความชันต่างกันไม่เกิน 10% จึงไม่มี Metrix effect ต่อ standard curve วิเคราะห์ Certified Reference Material (CRM) ในปุ๋ยเคมี ที่ระดับความเข้มข้นต่ำ กลาง และ สูง นำมาประเมินความถูกต้องจาก 3 วิธี คือ หาค่า %Recovery ได้เท่ากับ 100.0 99.62 และ 100.77% ตามลำดับ หาค่า HorRat ได้เท่ากับ 0.33 0.34 และ 0.24 ตามลำดับ ผ่านเกณฑ์ยอมรับ (%recovery อยู่ในช่วง 80 - 110% 98 - 102% และ HorRat ≤ 1.3) ทุกช่วงความเข้มข้น จากการศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อม Ruggedness จำนวน 7 ตัวแปร 8 การทดลอง โดยใช้ Youden-Steiner testing พบว่าการทดลอบโบรอนไม่มีผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมของการทดสอบ วิธีวิเคราะห์มีความคงทนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อยเมื่อคำนวณต้นทุนการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง ICP-OES และเครื่อง Spectrophotometer พบว่าการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง Spectrophotometer มีค่าใช้จ่ายต้นทุนการวิเคราะห์มากกว่าการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง ICP-OES ด้านระยะเวลาการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง Spectrophotometer สามารถวิเคราะห์จำนวนตัวอย่างต่อวันได้น้อยกว่าการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง ICP-OES วิธีวิเคราะห์โบรอนในปุ๋ยโดยใช้เทคนิคอินดักทีพลีคัพเปิลพลาสมาสเปคโตรเมทรี สามารถนำมาใช้ในห้องปฏิบัติการได้อย่างถูกต้อง และแม่นยำและยังพบว่าวิธีวิเคราะห์ด้วยเครื่อง ICP-OES สามารถวิเคราะห์ตัวอย่างได้จำนวนมากต่อวัน ไม่สิ้นเปลืองสารเคมี ทำให้มีความสะดวกรวดเร็วในการวิเคราะห์ โบรอนโดย ใช้เทคนิคอินดักทีพลีคัพเปิลพลาสมาสเปคโตรเมทรี สามารถนำมาใช้ในห้องปฏิบัติการได้อย่างถูกต้อง และแม่นยำ
คำหลัก: การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี โบรอน อินดักทีพลีคัพเปิลพลาสมาสเปคโตรเมทรี |